http://niruth.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

ประวัติและผลงาน

 ติดต่อเรา

สื่อและการเผยแพร่

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

7 เคล็ดลับ "เรียนอย่างไรให้จบตามหลักสูตร 4ปี (แถมพ่วงดีกรีเกียรตนิยม)"

ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : การชาร์จโทรศัท์ทิ้งไว้ทั้งวัน ควรทำหรือไม่ โทรผ่านไลน์ อันตรายจริงป่ะ ห้ามเอามือถือเปียกแช่ข้าวสาร

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลื่นอินเทอร์เน็ต Wi-Fi คลื่นมือถือ เป็นตัวเร่งโลกร้อน จริงหรือ?:คลื่นวิทยุ-คลื่นมือถือ รบกวนสมองได้จริงหรือ? พิสูจน์คลิปทำที่ชาร์จมือถือแบบไร้สายจริงหรือ? กระป๋องน้ำอัดลมเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ได้จริงหรือ? สัญญาณ Wi-Fi อันตรายจริงหรือ?

วิศวกรรมศาสตร์

ข่าวสารและกิจกรรม

Physics

การบริหารจัดการ

อิสรภาพทางการเงิน(Financial Freedom)

หัวข้อวิจัยสนใจ(Interested Topic Research)และโครงการ

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ06/06/2011
อัพเดท04/04/2024
ผู้เข้าชม76,832
เปิดเพจ118,918

สินค้า

iGetWeb.com
AdsOne.com

SAT คืออะไร ? ทำไมต้องสอบ SAT ?

SAT คืออะไร ? ทำไมต้องสอบ SAT ?

เรียบเรียง

อ.วศ.ดร. นิรุทธ์ พรมบุตร

อาจารย์ประจำ, ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

อาจารย์รับเชิญพิเศษ สวนกุหลาบวิทยาลัย(English Program),รร.มหิดลวิทยานุสรณ์, โยธินบูรณะ(E.P.),สตรีวิทยา,, สามเสนวิทยาลัย,นนทรีวิทยา, นวลนรดิศ, บางประกอกวิทยาลัย

          อาจารย์ วิทยากร ที่ปรึกษา ด้าน STEM Education และวิทยฐานะครู ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ

          อดีตประธานชมรมวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการ โครงงานค่ายมหิดลติวเอ็นทรานซ์ 

อดีตผู้ช่วยคณบดี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.ฝ่ายวิจัยและระบบสนับสนุน, งานกายภาพและอาคารสถานที่
วศ.บ.ไฟฟ้า(เกียรตินิยม อันดับ 1) วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล
วศ.ม.ไฟฟ้าสื่อสาร วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Ph.d. Management IAME.


สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมตอนปลายต้องรู้จักเป็นอย่างดี กับการสอบวัดความรู้เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่ง SAT(Scholastic Aptitude Test หรือ the Scholastic Assessment Test) สามารถใช้สอบเข้าต่อทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ SAT ถูกจัดสอบโดยหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาชื่อ College Board ดำเนินการโดย Educational Testing Service (ETS) ปัจจุบัน ETS ได้เป็นเพียงแค่หน่วยจัดสอบเทานั้น จากนั้นก็มีการพัฒนาข้อสอบและเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง

จุดกำเนิดของ SAT

ในปีค.ศ. 1901 องค์กรที่เรียกว่า College Board ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ได้สร้างข้อสอบ SAT ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เหตุผลนั้นก็คือมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการคัดเลือกนักศึกษาใหม่ในแต่ละปีเพราะเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะการที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก มหาวิทยาลัย ที่มีชื่อเสียงมักมีนักเรียนยื่นใบสมัครเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก แถมแต่ละคนก็ดูท่าทางเรียนเก่งกันหมดเพราะ GPA ในระดับมัธยมปลายก็สูงๆกันทั้งนั้น ไม่รู้จะเลือกใครดี (ในความเป็นจริง มาตรฐานการศึกษาในแต่ละรัฐนั้นไม่เท่ากัน การใช้ GPA คัดเลือกนั้น จึงไม่ยุติธรรม) ครั้นจะจัดสอบเพื่อทำการคัดเลือกก็ลำบาก ไหนจะต้องออกข้อสอบเอง อาจารย์ก็บ่นว่าไม่มีเวลาออกข้อสอบ นักเรียนบางคนก็บ่นว่าเดินทางมาสอบลำบากเพราะอยู่คนละรัฐ ครั้นจะทำการสัมภาษณ์ทีละคนก็เสียเวลามาก ข้อสอบ SAT จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยมหาวิทยาลัยต่างๆใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยก็ชอบเพราะไม่ต้องจัดสอบเอง นักเรียนก็ชอบเพราะว่าสอบ SAT วิชาเดียวก็นำไปสมัครเรียนกับมหาวิทยาลัยต่างๆได้หลายแห่ง

ชนิดการสอบ

SAT สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ SAT I (Reasoning Test) และ SAT II (Subject Tests)

SAT I (Reasoning Test)

จะประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วน คือ Critical Reading, Math และ Essay (เรียกส่วนที่ไม่ใช่ Math ว่า Verbal) โดยแต่ละส่วนจะคิดเป็นคะแนนส่วนละ 800 คะแนน รวมทั้งหมดเป็น 1600 คะแนน ช่วงคะแนนในแต่ละส่วนจะมีได้ตั้งแต่ 200-800 คะแนน มีคะแนนEssay แยกออกมาต่างหาก

  • Critical Reading and Language นั้นจะประกอบไปด้วยสองพาร์ทMath จะเป็นคำถามคณิตศาสตร์ ทั่ว ๆ ไป (ความรู้ประมาณ ม.3) มีทั้งตัวเลือกและเติมคำตอบในช่อง (grid-in)
    • Part Reading 52ข้อ 65นาที อ่านจับใจความ
    • Part Grammar 44ข้อ 35นาที วัดแกรมม่าร์ของน้องล้วนๆ (ผสมกับการวางประโยคดีๆเล็กน้อย)
  • Essay จะให้เขียนวิเคราะห์ Rhetorical Analysis แบ่งคะแนนเป้นสามพาร์ท
    • Reading อ่านจับใจความบทความ ได้ดีแค่ไหน
    • Analysis สามารถวิเคราะห์ได้มากแค่ไหนว่าสิ่งที่ผู้เขียนใส่ลงไป จะมีผลอย่างไรกับผู้อ่าน (พยายามเน้นว่า จะเกิดอะไรกับผู้อ่านบ้างเมื่ออ่านถึงประโยคนี้)
    • Writing เทคนิคการเขียนดีแค่ไหน

ระดับของศัพท์ที่ใช้ในข้อสอบนั้นจะเป็นคำศัพท์ที่ยาก เด็กทั่วไปอาจไม่ค่อยได้ใช้ จึงมีการหาหนังสือและ/หรือสื่อต่างๆช่วยในการเพิ่มคลังคำศัพท์สำหรับการสอบในส่วน Critical Reading

SAT II (Subject Tests)

เป็นการสอบวัดผลทางวิชาการแยกเป็นรายวิชา โดยที่น้อง ๆ จะได้เลือกวิชาที่ต้องการสอบ โดยปกติแล้วการสอบ SAT Subject Tests จะสอบกันสองหรือสามวิชา (แล้วแต่ requirement ของมหาวิทยาลัย) และการสอบจะมี 3 ช่วง แต่ละช่วงคือหนึ่งวิชา

เนื้อหาของ SATII นั้นครอบคลุมความรู้พื้นฐานของแต่ละวิชาตามที่ได้เรียนช่วงมัธยมปลาย โดยส่วนมากวิชาที่พี่ ๆ ชอบสอบจะเป็นวิชาสายวิทย์ เช่น Math II (มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะบังคับตัวนี้), Physics, Chemistry หรือ Biology เพราะสามารถทำคะแนนได้ง่ายกว่าวิชาอื่น แต่หากน้อง ๆ นึกสนุก ว่างจัด และมีเงินสมัคร วิชาพวกภาษา หรือประวัติศาสตร์ก็มีให้น้อง ๆ ได้เลือกสรรเช่นกัน

ตัวอย่างวิชาที่ให้เลือกสอบ เช่น Math level I, Math level II, Chemistry, Physics, Molecular Biology, Ecological Biology, World History, etc.

การสมัครสอบ และตารางสอบ

น้องๆสามารถสมัครสอบSATออนไลน์ได้ที่ www.collegeboard.com โดยที่ตารางสอบและตารางสมัครสอบดูได้ที่ http://sat.collegeboard.org/register/sat-us-dates

การเตรียมตัวก่อนสอบ

SAT I
  • Critical Reading น้อง ๆ ควรอ่านหนังสือศัพท์ เช่น Word Smart และฝึกทำ Reading โดยหาตัวอย่างข้อสอบหรือ prep guide เช่น Barron หรือ Princeton Review แต่หนังสือที่ดีที่สุดคือ หนังสือรวม SAT เล่มฟ้าของ College Board
  • Math การเตรียมตัวส่วนนี้ น้อง ๆ ควรฝึกทำโจทย์เลข จากหนังสือสอบ SAT part math หรือ Math II ของ SAT II เพื่อดูศัพท์ทางคณิตศาสตร์ทั่วไป
  • Writing ควรอ่าน Grammar ฝึกทำ Error Recognition และฝึกเขียน 4-5 paragraphs essay
SAT II

การเตรียมตัวแต่ละวิชาจะแตกต่างกันไป น้อง ๆ สามารถหาแนวข้อสอบมาทำได้จากหนังสือ prep guide ต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้ว พี่ ๆ จะทิ้งหนังสือพวกนี้ไว้ให้อยู่แล้ว และถ้าเป็นวิชาสายวิทย์ เนื้อหาก็จะไม่ยากเกินไปนัก

SAT สอบเพื่ออะไร ?

SAT เป็นข้อสอบมาตรฐาน ที่วัดทักษะด้าน verbal และ mathematical reasoning มีความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญา มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ  จะอ้างอิงถึงผล SAT ในการพิจารณารับนักศึกษา นอกจากนี้ อาจจะใช้ผลสอบ SAT ในการพิจารณาสิทธิในการขอทุนการศึกษาด้วย ใน 1 ปีจะมีการสอบ 4 ครั้ง คือในเดือนมีนาคม พฤษภาคม ตุลาคม และธันวาคม สามารถสมัครสอบผ่านเว็บไซต์ collegeboard.com โดยประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ของแต่ละปีจะเปิดตารางใน 4 รอบถัดไปคือเดือนตุลาคม ธันวาคม มีนาคม และพฤษภาคมให้สมัคร

สอบ SAT ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?

SAT มีการจัดการสอบในหลายประเทศ ซึ่งจะใช้ข้อสอบชุดเดียวกันและสอบในเวลาเดียวกันทั่วโลก SAT ไม่จำกัดอายุของผู้เข้าสอบ แต่จำกัดอายุของผลคะแนนสอบให้มีอายุใช้งานได้ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้าไปยื่นและสามารสอบได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ปกติสอบกันไม่เกิน 2 ครั้ง

โครงสร้างข้อสอบ SAT

ตั้งแต่รอบสอบเดือนพฤษภาคม ปี 2016 ในประเทศไทย การสอบ SAT ได้เปลี่ยนระบบใหม่โดยใช้ชื่อว่า Redesigned SAT หรือที่เรียกกันว่า New SAT จะมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง มาดูกันค่ะ

1. ลดข้อสอบ

ปัจจุบัน ข้อสอบจะมี 2 ส่วนคือ Math และ Reading & Writing คือ ข้อสอบใหม่จะรวบ Reading และ Writing เข้าเป็นส่วนเดียวกัน โดยข้อสอบ Writing แบบเดิมจะบังคับเขียน Essay ด้วย แต่ข้อสอบแบบใหม่ไม่ได้บังคับให้เขียน Essay ใครไม่อยากเขียนก็ไม่ต้องสอบ

2. ลดเวลาการสอบ

จาก3 ชั่วโมง 45 นาที เหลือ 3 ชั่วโมงถ้วน เนื่องจากข้อสอบใหม่ไม่บังคับทำ Essay เหมือนแบบเก่า ดังนั้นใครไม่ต้องการสอบ Essay ก็จะใช้เวลาน้อยลง (ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยในไทยส่วนใหญ่ไม่พิจารณาผลตรงนี้ ต้องคอยติดตามว่าในอนาคตจะมีหลักสูตรไหนต้องการผลตรงนี้บ้าง ส่วนมหาวิทยาลัยในต่างประเทศบางแห่ง ต้องการผล Essay ด้วย)

3. ลดคะแนน

จากเดิมคะแนนเต็ม 2,400 เหลือ 1,600 คะแนน เนื่องจากการรวมข้อสอบแบบ Reading กับ Writing ทำให้คะแนนลดลง 800 คะแนน โดยจะมาจาก Math 800 คะแนน และ Reading and Writing 800 คะแนน รวมกันเป็น 1,600 คะแนน อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยในไทยมักพิจารณาผลจากคะแนนเต็ม 1,600 อยู่แล้ว จึงไม่ได้มีผลในส่วนนี้

4. กรณีตอบผิด ไม่มีการหักคะแนน

ต่อไปนี้จะสามารถเดาหรือกาคำตอบมั่ว ได้อย่างเต็มที่ ต่างจากการสอบ SAT แบบเดิมที่หากตอบผิด จะมีการหักคะแนน

5. เนื้อหาการสอบ

เมื่อปี 2016 ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเนื้อหาการสอบ เรามาดูรายละเอียดของแต่ละส่วนกันเลย

Reading หรือที่มีอีกชื่อว่า Evidence-Based Reading มีคำถาม 52 ข้อ ให้เวลาทำ 65 นาที ในการสอบจะมี 4 Passage และ 1 Pair Passage (หมายถึงมี 2 Passage ที่เขียนโดยผู้เขียนคนละคน แต่พูดถึงเรื่องเดียวกันหรือคล้ายกัน) ในเรื่องต่างๆคือ

Literature  

Founding Documents or Great Global Conversation

Social Studies  

Science (Physics, Chemistry, Biology)

โดยคำถามจะเริ่มจากคำถามกว้างๆก่อน เช่น The main purpose of this passage is to แล้วค่อยๆลงรายละเอียดในคำถามต่อไป

Writing โดยมีคำถาม 44 ข้อ ให้เวลาทำ 35 นาที ในการสอบจะมี 4 Passage ในเรื่องที่คล้ายกับ Passage Reading โดยในแต่ละ Passage จะมีการขีดเส้นใต้คำหรือประโยคจำนวน 11 จุด จากนั้นคำถาม 11 ข้อจะถามว่าส่วนที่ขีดเส้นใต้นั้นผิดหลัก Grammar หรือการเขียนหรือไม่ ถ้าผิด จะต้องแก้เป็นอย่างไร สิ่งที่แตกต่างจากข้อสอบ Writing แบบเดิมคือจะไม่มีการสอบ Error Identification อีกต่อไป

Mathematics ข้อสอบในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  • No Calculator โดยมีคำถาม 20 ข้อ ให้เวลาทำ 25 นาที ข้อสอบในส่วนนี้ห้ามใช้เครื่องคิดเลข แต่ผู้ออกสอบมักจะออกข้อสอบที่ไม่ต้องมีการคำนวณซับซ้อน เช่น การคูณจุดทศนิยมหลายตัว
  • Calculator โดยมีคำถาม 38 ข้อ ให้เวลาทำ 55 นาที ข้อสอบส่วนนี้ใช้เครื่องคิดเลขได้ตามปกติ

ซึ่งในข้อสอบแบบใหม่จะมีการเพิ่มเนื้อหาบางอย่างที่ไม่เคยออกสอบข้ามาในเรื่องของ Mathematics เช่น Trigonometry

ข้อสอบ New SAT ได้ผลสรุปจากการสอบจริงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี  2016 ว่า New SAT ง่ายกว่าการสอบ Old SAT และการสอบ New SAT นั้นให้ผลคะแนนที่สูงกว่า Old SAT พอสมควร สมัยก่อนการเรียนหลักสูตรนานาชาติเป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่สำหรับในยุคอาเซียนแบบนี้ สถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติมีแทบทุกที่และได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มนักเรียนนักศึกษารวมถึงผู้ปกครอง การที่จะเข้าเรียนได้นั้นนักเรียนต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดี มีผลการสอบวัดความรู้ความสามารถจากหน่วยงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล การสอบ SAT ก็เป็นหนึ่งในการวัดผลที่ได้รับการยอมรับในระดับต้นๆ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยและต่างประเทศ

ต้องทำ SAT ได้กี่คะแนนถึงสอบติด

อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าคะแนนเต็มของข้อสอบ SAT คือ 800 คะแนนต่อวิชา รวมทั้งหมดจึงเท่ากับ 2,400 คะแนน อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัย “ส่วนใหญ่” มักจะไม่พิจารณาผลในส่วนวิชา Writing ดังนั้นคะแนนเต็ม จึงลดลงเหลือ 1,600 คะแนน ซึ่งหากต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยระดับ Top 50 ของสหรัฐอเมริกา มักจะต้องทำคะแนนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1,100 คะแนนขึ้นไป ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ 5 หลักสูตรที่ต้องการคะแนนสูงในระดับนี้คือ BBA จุฬาฯ, BBA ธรรมศาสตร์, BE ธรรมศาสตร์ และ BACM (Comm Arts) จุฬาฯ นอกจากนี้บางหลักสูตรอาจต้องการผลคะแนนในวิชา Mathematics เพียงอย่างเดียว เช่น ISE จุฬาฯ (ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน) หรืออาจต้องการผลคะแนนในวิชา Critical Reading เพียงอย่างเดียว เช่น BALAC จุฬาฯ (ไม่ต่ำกว่า 400 คะแนน)

 

ทำไมหลักสูตรอินเตอร์ในประเทศไทยจึงรับผล SAT กันอย่างแพร่หลาย

มีหลายเหตุผลที่ข้อสอบ SAT เป็นที่แพร่หลายในไทย เช่น

  1. ข้อสอบ SAT ได้พัฒนามานานกว่า 100 ปีแล้วดูมีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ
  2. การใช้ข้อสอบ SAT ทำให้ไม่ต้องคิดข้อสอบขึ้นมาเอง
  3. ทำให้หลักสูตรอินเตอร์ดู “อินเตอร์” ยิ่งขึ้น (เพราะผลสอบ SAT สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก)
  4. เพื่อความสะดวกแก่ผู้สมัคร เพราะหลักสูตรอื่นๆก็มักยอมรับผล SAT กันทั้งนั้น ผู้สมัครจะได้ไม่ต้องไปสอบข้อสอบหลายๆวิชาหากอยากสมัครเรียนหลายๆที่
  5. สามารถรับผู้สมัครจากต่างชาติได้ เพราะข้อสอบ SAT นั้นสามารถสอบได้ในหลายๆประเทศทั่วโลก

 

เกร็ดน่ารู้

  1. ในปี 2014 ข้อสอบ SAT มีคะแนนเฉลี่ยในวิชา Mathematics, Critical Reading และ Writing เท่ากับ 513, 497 และ 487 คะแนน
  2. แม้จะไม่มีสถิติยืนยัน แต่เป็นที่ทราบกันดีว่านักเรียนไทยส่วนใหญ่ทำคะแนนสอบ Mathematics ได้ดีกว่าวิชาอื่นๆมากกว่า 100 คะแนนขึ้นไปทีเดียว
  3. การสอบ SAT ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4 ชั่วโมง
  4. SAT เป็นข้อสอบที่ผู้สอบต้องคิดให้ไว เวลาเฉลี่ยในการตอบคำถามแต่ละข้อคือ 43-83 วินาทีเท่านั้น
  5. SAT คือข้อสอบที่ต้องสอบในวันเสาร์ (สมชื่อจริงๆ)
  6. ในปี 2016 ตั้งแต่เดือน March เป็นต้นไป การสอบ SAT มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
  7. สอบกี่ครั้งก็ได้ แต่ปกติสอบกันไม่เกิน 2 ครั้ง
  8. คำศัพท์ที่ออกมักเป็นศัพท์ที่ไม่ค่อยเจอ หรือเป็นคำที่เจอบ่อยแต่เลือกความหมายที่แทบไม่เคยใช้ ฉะนั้นเลือกอ่านหนังสือศัพท์สำหรับ SAT โดยเฉพาะ และอย่าลืมดูความหมายแปลกๆ ของคำศัพท์นั้นๆ ด้วย (อ่านวรรณกรรมคลาสสิกก็ช่วยได้)
  9. นำเครื่องคิดเลขเข้าไปได้ แต่ห้ามใช้โทรศัพท์คิดเลข แต่ส่วนใหญ่คิดว่าไม่จำเป็น เพราะตัวเลขที่ต้องคำนวณไม่ซับซ้อน มักเป็นปัญหาเชาวน์ที่สามารถตอบได้ด้วยการวาดภาพหรือคิดคร่าวๆ
  10. ปัญหาใหญ่ของเด็กไทยในการทำข้อสอบคณิตศาสตร์คือแปลโจทย์ไม่ออก ดังนั้นควรท่องศัพท์คณิตศาสตร์เพิ่ม หามาว่าพวกเส้นผ่านศูนย์กลาง มุมกลับ ทรงกระบอก จำนวนเต็ม ค.ร.น. หรือห.ร.ม. ภาษาอังกฤษคืออะไร
  11. ส่วนการเขียนเป็นส่วนที่เตรียมตัวได้น้อยที่สุดเพราะไม่รู้ว่าจะให้เขียนอะไร ฉะนั้นไวยากรณ์ต้องเป๊ะ และฝึกเขียนเยอะๆ เรื่องอะไรก็ได้ ทำบ่อยจะได้ค่อยๆ ชิน
  12. ส่วนของ error นั้นมีเคล็ดลับว่าให้อ่านโจทย์โดยไม่ดูว่าคำไหนโดนขีดเส้นใต้ป็นตัวเลือก เพราะบางข้อที่ง่ายๆ อ่านแล้วจะสะดุดคำนั้นทันที แต่ถ้ามองตัวเลือกก่อนก็จะรู้สึกว่าถูกทุกอัน ไม่ก็ผิดทุกอัน
  13. เจาะลึกข้อสอบ SAT…ก็ข้อสอบแอดมิชชั่นของเด็กอเมริกัน!!
  14. ข้อสอบจะเรียงลำดับจากง่าย-ปานกลาง-ยาก (ยกเว้นการอ่าน passage) ถ้าเป็นข้อแรกๆ ก็คือข้อง่าย เมื่อเจอตัวเลือกที่น่าจะถูกปุ๊บ แปลว่ามันถูก แต่ถ้าเป็นข้อหลังๆ ซึ่งเป็นข้อยาก เมื่อไม่แน่ใจ พยายามอย่าเลือกตัวเลือกที่น่าจะถูก เพราะมักเป็นตัวหลอก
  15. คะแนนเฉลี่ยทั่วไปของส่วนการอ่านคือ 501 คณิตศาสตร์ 516 และการเขียน 492 คะแนน โดยผู้ที่ได้คะแนนระดับนี้มักตอบตัวเลือกที่ ?น่าจะถูก? ทั้งข้อง่ายและยาก ฉะนั้นอย่าลืมว่าข้อยากมันจะหลอก

การสมัครสอบ SAT

เจาะลึก ข้อสอบ SAT คืออะไร

เข้าไปที่ sat.org/international แล้วเลือกที่ Register จากนั้นเลือก Sign Up
จากนั้นจะเป็นหน้ากรอกข้อมูลเพื่อเป็นสมาชิกของ College Board กรอกข้อมูลให้ครบ แล้วกด Submit

เจาะลึก ข้อสอบ SAT คืออะไร

หลังจากเสร็จสิ้นการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ของ College Board แล้ว จะกลายเป็นหน้ากรอกข้อมูลสมัครสอบ SAT ให้โดยอัตโนมัติ
กรอกข้อมูลตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ ถ้ามีคำว่า (optional) ก็คือข้าม ไม่ต้องกรอกข้อนั้นก็ได้

เจาะลึก ข้อสอบ SAT คืออะไร

จนมาถึงหน้า Select Test & Center ให้ใส่ว่าจะสอบวันไหน ที่ไหน

เจาะลึก ข้อสอบ SAT คืออะไร

จากนั้นก็อัพโหลดรูปตัวเอง มองกล้อง ยิ้มแย้มได้ เห็นหน้าชัดเจน เหมือนในตัวอย่าง แต่ต้องรูปที่เหมือนตัวจริง ไม่ใช่รูปสวยเว่อร์ แต่วันสอบไปแบบโทรมมาก

เจาะลึก ข้อสอบ SAT คืออะไร

เมื่อถึงขั้นตอนเกือบสุดท้าย จะเป็นตัวอย่างใบสมัครที่มีข้อมูลทั้งหมดที่กรอกไป ตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่

เจาะลึก ข้อสอบ SAT คืออะไร

และด้านล่างสุดคือจำนวนเงินที่ต้องจ่าย

เจาะลึก ข้อสอบ SAT คืออะไร

แล้วก็ถึงขั้นตอนสุดท้าย คือจ่ายเงิน ใช้บัตรเครดิตของธนาคารหรือห้างไหนก็ได้ที่เป็น VISA, Master Card, American Express, Discover/Diners หรือ JCB (บัตรจะเป็นชื่อใครก็ได้)

เมื่อการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์ น้องก็สามารถพิมพ์ตั๋วเข้าห้องสอบออกมาได้

ค่าสอบ?ข้อสอบ SAT

ค่าสมัครสอบคือ US$ 50 (ประมาณ 1,500 บาท) ส่วน US$ 31 (ประมาณ 930 บาท) คือค่าธรรมเนียมสอบต่างประเทศ เป็นค่าขนส่ง ค่าระบบรักษาความปลอดภัย และอื่นๆ

ทั้งหมด US$ 81 นี้จะรวมค่าส่งผลคะแนน SAT ให้ 4 ฉบับแล้ว น้องๆ สามารถสั่งให้ส่งผลคะแนนไปยังมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้โดยตรงถึง 4 แห่งเลย แต่ถ้าต้องการมากกว่านี้จะต้องเสียเพิ่มอีกฉบับละ US$11

วันสอบ?

SAT จัดสอบปีละ 6 ครั้งคือเดือนตุลาคม, พฤศจิกายน, ธันวาคม, มกราคม, พฤษภาคม และมิถุนายน ส่วนสนามสอบในสหรัฐอเมริกาจะมีอีกหนึ่งครั้งในเดือนมีนาคม
รอบล่าสุดที่จะถึงนี้คือ 4 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน

โดยทั่วไปแล้วจะปิดรับสมัครประมาณ 1 เดือนก่อนถึงวันสอบ ฉะนั้นตรวจสอบตารางดีๆ  เพราะค่าสมัครสายแพงยิ่งกว่านี้อีกครับ

เจาะลึก ข้อสอบ SAT คืออะไร

สนามสอบ SAT?สอบในไทยมีที่ใดบ้าง

  • โรงเรียนนานาชาติบริติช ภูเก็ต
  • โรงเรียนนานาชาติเปรม (PTIS) เชียงใหม่
  • โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ (CMIS)
  • โรงเรียนประชาคมนานาชาติ (ICS) กรุงเทพ
  • โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ กรุงเทพ
  • โรงเรียนนานาชาตคิวเอสไอ (QSI) ภูเก็ต
  • โรงเรียนนานาชาติคิซ (KIS) กรุงเทพ
  • โรงเรียนนานาชาติล้านนา (LIST) เชียงใหม่
  • โรงเรียนนานาชาติเวลล์ส กรุงเทพ
  • โรงเรียนนานาชาติภาคตะวันออก (ISE) ชลบุรี
  • โรงเรียนนานาชาติกีรพัฒน์ กรุงเทพ
  • โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดีวิเทศศึกษา กรุงเทพ
  • โรงเรียนนานาชาติไทย-จีน สมุทรปราการ
  • โรงเรียนนานาชาติใหม่แห่งประเทศไทย (NIST) กรุงเทพ

New SAT 


ในข้อสอบแบบใหม่นี้ พบว่าการสอบ New SAT ให้ผลคะแนนที่สูงกว่าการสอบ SAT แบบเดิม และปัจจุบันการเรียนหลักสูตรนานาชาติก็มีมากขึ้น ทำให้การสอบ New SAT เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานที่นักเรียนนิยมสอบมากขึ้น เพื่อใช้ยื่นสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยที่มีหลักสูตรนานาชาติ โดยคะแนนสอบ SAT ใช้ยื่นสมัครที่คณะไหนสถาบันไหนในประเทศไทยได้ ก็จะมี
1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (Inter) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (Inter) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Inter) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิศวกรรมยานยนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิศวกรรมนาโน
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Inter) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เทคโนโลยีการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วิทยาการคอมพิวเตอร์
5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Inter) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6. หลักสูตรวิทยาศาสตรและการบริหารธุรกิจบัณฑิต (Inter)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
7. หลักสูตรนานาชาติกว่า 10 สาขาวิชามหาวิทยาลัยมหิดล
8. หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรและศิลปบัณฑิต (Inter) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ บางมด
9. หลักสูตร Inter ทุกสาขาวิชา ABAC และอื่นๆ อีกหลายหลักสูตร

อ้างอิง

http://tswiki.thaischolars.net/SAT

All SAT Guide The SAT Subject Tests Student Guide - The College Board

Cracking The Physics Subject 

SAT II Mechanics Physics Part https://docs.google.com/document/d/1b5Yhu1KBDQLzpNiqZ4uQzdUJqGXBcLtsbBEXIq_dXrk/edit?usp=sharing

Tags : SAT คืออะไร ? ทำไมต้องสอบ SAT ?

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view