http://niruth.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

ประวัติและผลงาน

 ติดต่อเรา

สื่อและการเผยแพร่

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

7 เคล็ดลับ "เรียนอย่างไรให้จบตามหลักสูตร 4ปี (แถมพ่วงดีกรีเกียรตนิยม)"

ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : การชาร์จโทรศัท์ทิ้งไว้ทั้งวัน ควรทำหรือไม่ โทรผ่านไลน์ อันตรายจริงป่ะ ห้ามเอามือถือเปียกแช่ข้าวสาร

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลื่นอินเทอร์เน็ต Wi-Fi คลื่นมือถือ เป็นตัวเร่งโลกร้อน จริงหรือ?:คลื่นวิทยุ-คลื่นมือถือ รบกวนสมองได้จริงหรือ? พิสูจน์คลิปทำที่ชาร์จมือถือแบบไร้สายจริงหรือ? กระป๋องน้ำอัดลมเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ได้จริงหรือ? สัญญาณ Wi-Fi อันตรายจริงหรือ?

วิศวกรรมศาสตร์

ข่าวสารและกิจกรรม

Physics

การบริหารจัดการ

อิสรภาพทางการเงิน(Financial Freedom)

หัวข้อวิจัยสนใจ(Interested Topic Research)และโครงการ

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ06/06/2011
อัพเดท07/02/2024
ผู้เข้าชม76,162
เปิดเพจ118,228

สินค้า

iGetWeb.com
AdsOne.com

มาเขียนแผนธุรกิจกันเถอะ

มาเขียนแผนธุรกิจกันเถอะ

การเขียนแผนธุรกิจ


แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ แผนธุรกิจ เปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทางที่จะช่วยชี้แนะขั้นตอนต่าง ๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่าง ๆ ทั้งในเรื่อง การตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ หรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง


แผนธุรกิจควรมีอะไรบ้าง
แผนธุรกิจที่ดีย่อมช่วยในการวัดถึงความเป็นไปได้ของกิจการที่จะลงทุน ตัวแผน จึงควรประกอบด้วยการวิเคราะห์อย่างละเอียดในตัวแปรหรือปัจจัยดังต่อไปนี้
1. สินค้าหรือบริการที่จะขาย
2. กลุ่มลูกค้าที่คาดหวัง
3. จุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการที่จะทำ
4. นโยบายการตลาด
5. วิธีการหรือกระบวนการในการผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องใช้
6. ตัวเลขทางการเงิน นับตั้งแต่รายได้ที่คาดว่าจะได้ ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน จำนวนเงินลงทุนที่ต้องการ และกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้มา หรือใช้ไป
แผนธุรกิจที่ดี เมื่ออ่านแล้วจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้
1. การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยัง
2. ธุรกิจนี้น่าลงทุนหรือไม่
3. ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน
4. ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด
5. สินค้าที่จะผลิตมีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพียงใด้
6. สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
7. วิธีการผลิตและการวางตลาดสินค้านั้น มีทางเลือกอื่น ๆ ที่ประหยัดได้มากกว่าหรือไม่
8. หน้าที่ต่าง ๆ เช่น การผลิต การจำหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการจัดการที่ดีและหมาะสมเพียงใด
9. จำนวนและคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่
แผนธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ซึ่งแผนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในอนาคตของผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร รวมทั้งเป็นประโยชน์แก่สถาบันการเงินและนักลงทุนภายนอกที่จะเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่กิจการในอนาคตได้ โดยปกติแผนธุรกิจจะบอกให้เราทราบว่าปัจจุบันเราเดินอยู่ ตรงไหน อนาคตจะไปอยู่ที่ใด ด้วยวิธีการอย่างไร โดยทั่วไปองค์ประกอบของแผนธุรกิจจะประกอบไปด้วย10 หัวข้อหลัก ดังนี้



1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
เป็นส่วนที่สรุปใจความสำคัญ ๆ ของแผนธุรกิจทั้งหมด และต้องเป็นเอกสารที่สมบูรณ์ในตัวเอง (Stand alone document) โดยจะชี้ให้เห็นประเด็นที่มีความสำคัญ คือ จะชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสจริงเกิดขึ้นได้ในตลาดสำหรับธุรกิจที่กำลังคิดจะทำ และชี้ให้เห็นว่า สินค้าและบริการที่จะทำนั้น สามารถใช้โอกาสในตลาดให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร ดังนั้นบทสรุปจึงมีความจำเป็นต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อ หนักแน่น มีความเป็นไปได้ เนื่องจากบทสรุปของผู้บริหารเป็นเพียง "บทสรุป" จึงต้องเขียนให้สั้น
กระชับ และกะทัดรัด (ไม่ควรเกิน 2 - 3 หน้า) และเป็นส่วนสุดท้ายในการเขียนแผนทังหมด เนื้อหาในบทสรุปของผู้บริหารควรได้กล่าวถึง
- จะทำธุรกิจอะไร มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจนั้นอย่างไร โดยอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของสินค้าและบริการ
- โอกาสและกลยุทธ์ บอกถึงความน่าสนใจ ตลอดจนแนวโน้มของธุรกิจ ที่จะแสดงว่าโอกาสทางการตลาดนั้นเปิดทางให้
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อธิบายถึงลักษณะทางการตลาด กลุ่มลูกค้าหลัก การวางแผนการเข้าถึงลูกค้า
- ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจ รวมถึงทางด้านตัวผลิตภัณฑ์ และความได้เปรียบต่อคู่แข่งขัน
- ทีมผู้บริหาร สรุปถึงความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะ ควรจำกัดไม่เกิน 3 - 5 คน และเป็นผู้ที่มีผลกระทบต่ออนาคตและความสำเร็จของธุรกิจ
- แผนการเงิน/การลงทุนโดยระบุถึงเงินลงทุน จะทำอะไร ผลตอบแทนของการลงทุน จะเป็นเท่าไร
2. ประวัติกิจการ / ภาพรวมของกิจการ
ในส่วนนี้เป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นมาของการก่อตั้ง /จดทะเบียน ตลอดจนแนวคิด และการเล็งเห็นโอกาสทางการตลาด การคิดค้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่จะนำเสนอให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายในระยะยาวที่ต้องการจะเป็นในอนาคต
3. การวิเคราะห์สถานการณ์
การวิเคราะห์สถานการณ์ที่เรียกกันว่า “SWOT ANALYSIS” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
3.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เป็นการตรวจสอบความสามารถ ความพร้อมของกิจการในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นในส่วนที่เป็นจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ของกิจการ
3.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ในลักษณะที่เป็นโอกาส (Opportunities) หรืออุปสรรค(Threats)ในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ประกอบการควรได้เริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกเนื่องจากเป็น ปัจจัยที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมได้ โดยทั่วไปปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญที่ผู้ประกอบการควรจะต้องให้ความ
สนใจ มี 7 ประการ สามารถเรียกง่าย ๆ ว่า "MC-STEPS" โดยมีความหมายพอสรุปได้ ดังนี้
M = Market คือ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
C = Competition คือ สถานการณ์การแข่งขัน
S = Social คือ ค่านิยมทางวัฒนธรรมของสังคม เช่น การใช้ สินค้าที่มียี่ห้อ
T = Technology คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
E = Economic คือ สถานการณ์
P = Political & Legal คือ สถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงเรื่อง กฎ ระเบียบต่าง ๆ
S = Suppliers คือ กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบ / กลุ่มผู้ผลิตและเครือข่าย
4. วัตถุประสงค์ และเป้าหมายทางธุรกิจ 

เป็นผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กิจการต้องการได้รับในช่วงระยะเวลาของการจัดทำแผน โดยทั่วไปเป้าหมายธุรกิจแบ่งออกเป็น เป้าหมายโดยรวมของกิจการ และเป้าหมายเฉพาะด้านในแต่ละแผนก/ลักษณะของงาน นอกจากนี้เป้าหมายทางธุรกิจยังควรแบ่งเป็น เป้าหมายระยะสั้น ในช่วงระยะเวลา 1 ปี เป้าหมายระยะปานกลาง ระยะเวลา 3 - 5 ปี และเป้าหมายระยะยาว ที่นานกว่า 5 ปี ลักษณะเป้าหมายธุรกิจที่ดี ประกอบไปด้วย
4.1 ความเป็นไปได้ หมายถึง กิจการมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย
4.2 สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ ความชัดเจนที่สามารถประเมินได้ว่ากิจการบรรลุตามเป้าหมายแล้วหรือไม่
4.3 เป็นไปในทางเดียวกัน คือ เป้าหมายย่อย ๆ ในแต่ละฝ่าย ควรมีลักษณะที่สอดคล้องกัน
5. แผนการตลาดและการวิจัย
แผนการตลาด ในการทำธุรกิจนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมุมมองทางด้านการตลาด ผู้ประกอบการจะต้องหาให้ได้ หรือมองให้ออกว่าผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อสนองความต้องการนั้น กำไรที่เกิดขึ้นนั้นคือผลงานจากการทำให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจสูงสุด แผนการตลาดเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจว่าจะมีความเป็นไปได้แค่ไหน โดยทั่วไปจะเป็นการวิเคราะห์ เพื่อกำหนดแผนการตลาด ดังนี้
5.1 กำหนดขอบเขตธุรกิจหรือขอบเขตการตลาด (Market Definition)
5.2 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis) มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
- วิเคราะห์ลูกค้า
- วิเคราะห์คู่แข่ง
- วิเคราะห์ต้นทุน
- วิเคราะห์แนวโน้ม ส่วนใหญ่
5.3 การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation)
โดยทั่วไปจะนิยมแบ่งส่วนตลาดใน 4 ลักษณะ ดังนี้

- ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์ จิตวิทยา พฤติกรรม
- ภาค - อายุ - รูปแบบการดำเนินชีวิต - โอกาสซื้อบ่อยแค่ไหน
- ในเมืองหรือชนบท - เพศ - ชั้นวรรณะ สูง กลาง ต่ำ - ความภักดีต่อสินค้า
- รายได้
กลยุทธ์ทางการตลาด โดยทั่วไปการวางแผนทางด้านการตลาด มักจะมีขั้นตอนง่าย ๆ เรียกว่า STP&4P’s ดังนี้
1. S มาจาก Segmentation คือ การแบ่งส่วนตลาด ดังได้กล่าวไว้แล้วใน หัวข้อ 5.3
2. T มาจาก Targeting คือ การกำหนดลูกค้าเป้าหมายว่ากลุ่มไหนที่เรา จะเลือก โดยทั่วไปเรา
3. P มาจาก Positioning คือ การสร้างภาพพจน์ในใจของลูกค้า
4. 4 P’s มาจากส่วนผสมที่ลงตัวในโปรแกรมทางการตลาด 4 ตัว เปรียบเสมือนแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ทางการตลาด ดังนี้
      4.1 Product คือ สินค้า/บริการ
      4.2 Price คือ ราคา
      4.3 Place คือ ช่องทางการจำหน่าย
      4.4 Promotion คือ การส่งเสริมทางการตลาด
นอกจากส่วนประสมทางการตลาด 4 P’s ที่กล่าวมาแล้ว ยังมี 4 C’s ซึ่งถือ ได้ว่าเป็นส่วนประสมทางการตลาดยุคใหม่ที่มองทางด้านความต้องการของผู้บริโภคและควรที่จะต้องนำมาใช้ร่วมในแผนปฏิบัติการทางการตลาดด้วย ดังนี้
5. 4 C’s
5.1 Consumer Need คือ ผลิต/ขายสินค้าตามความต้องการของลูกค้า
5.2 Customer Benefits คือ ผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ
5.3 Convenience คือ เป็นสินค้าที่สะดวก
5.4 Communication คือ การรับรู้ข่าวสารสินค้า 
 การวิจัย 
การวิจัยคือจุดเริ่มต้นสำหรับการตลาด หากไม่ทำวิจัยก่อนก็เหมือนกับบริษัทนั้น ๆ เข้าสู่ตลาดเหมือนคนตาบอด การวิจัยทำให้บริษัทตระหนักว่า โดยปกติแล้วผู้ซื้อในตลาดหนึ่ง ๆ จะมีความต้องการ ความเข้าใจ และความชอบต่างกันไป เช่น ผู้หญิงต้องการรองเท้าที่ต่างจากผู้ชาย คนอ้วนต้องการรองเท้าต่างจากคนผอม และเมื่อแฟชั่นเข้าสู่ตลาดรองเท้า ความชอบก็จะยิ่งขยายวงกว้างออกไป ซึ่งเป็นผลจากความแตกต่างด้านรายได้ การศึกษาและรสนิยม
6. แผนการบริหารจัดการและแผนการดำเนินงาน
เป็นการกำหนดโครงสร้างองค์กร และผู้บริหารที่สอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจด้านอื่น ๆ ของ กิจการ มีแผนด้านทรัพยากรบุคคลที่ดี ในส่วนนี้จะประกอบไปด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
6.1 สถานที่ตั้ง
6.2 โครงสร้างองค์กร และทีมผู้บริหาร
6.3 แผนด้านบุคลากร จำนวน เวลาทำงาน ค่าตอบแทน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ
6.4 เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ – ซื้อ เช่า เช่าซื้อ
7. แผนการผลิต/ปฏิบัติการ
แผนการผลิตและปฏิบัติการที่ดีต้องสะท้อนความสามารถขององค์กรใน "การจัดการกระบวนการผลิตและปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล" เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยมุ่งเน้นประเด็นการจัดการไปยังกระบวนการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรในการผลิต ในการวางแผนปฏิบัติการ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตามประเด็นที่สำคัญ คือ
7.1 คุณภาพ
7.2 การออกแบบสินค้าและบริการ
7.3 การออกแบบกระบวนการผลิต และการตัดสินใจเรื่องกำลังการผลิต
7.4 การออกแบบผังของสถานประกอบการ
7.5 การออกแบบระบบงาน และวางแผนอัตรากำลังคนในกระบวนการผลิต โดยการพิจารณาถึงรายละเอียดของระบบงานเป็นการจัดลำดับความสำคัญ ก่อนหลังในกระบวนการผลิต การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และการใช้อัตรากำลังคนที่เหมาะสม สำหรับหน้าที่ต่าง ๆ คุณสมบัติของพนักงานทั้งทางด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ
8. แผนการเงิน
เมื่อมีการกำหนดแผนการตลาด แผนการบริหารจัดการ และแผนการผลิตได้แล้ว ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีแผนการเงินมารองรับ เนื่องจากในทุกกิจกรรมต้องใช้
เงินทั้งนั้น ในท้ายที่สุดของแผนธุรกิจจะต้องมีแผนการเงินที่ดี โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
8.1 สมมุติฐานทางการเงิน เป็นการกำหนดปัจจัยหลัก ๆของการดำเนินงานเพื่อประมาณการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปมีดังนี้
1) ยอดขาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่มาจากแผนการตลาดที่วางไว้
2) ต้นทุนขาย ควรจะมาจากแผนการผลิตที่วางไว้
3) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารมาจากแผนบุคลากร และกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมการขายต่าง ๆ
4) ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ประเมินจากอัตราดอกเบี้ย และวงเงินกู้เดิมกับวงเงินกู้ที่จะขอเพิ่มมาใหม่
5) สินทรัพย์และค่าเสื่อม มาจากประมาณการที่จะลงทุนในอนาคต เพื่อขยายกิจการและวิธีการคิดค่าเสื่อม
6) สินค้าคงคลัง ประมาณการระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
7) ลูกหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาระหว่างการขายสินค้า และการเก็บเงินได้จากการขาย
8) เจ้าหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาสั่งซื้อของ และจ่ายเงินให้เจ้าหนี้

8.2 ประมาณการทางการเงิน เป็นการประมาณการงบการเงินและการ วิเคราะห์อัตราส่วนตามสมมุติฐานที่วางไว้ ประกอบไปด้วย
งบกำไรขาดทุน คือ งบที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทตลอดงวด ระยะเวลาบัญชโดยทั่วไปจะกำหนดให้เป็นรอบ 1 ปี หรือราย 6 เดือน งบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย รายการหลัก 3 รายการ คือ
1) ยอดขายหรือรายได้
2) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือต้นทุน

3) ผลต่างของตัวเลขดังกล่าว ซึ่งก็คือ กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
งบดุล คือ งบที่แสดงถึงฐานะการเงิน ภาระผูกพันในการชำระหนี้ และจำนวนทุนของบริษัท ณ วันใดวันหนึ่งเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ณ วันสิ้นงวดของรอบระยะเวลาบัญชี งบดุลประกอบด้วยรายการหลัก ๆ 3 รายการ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน หรือส่วนของเจ้าของ
งบกระแสเงินสด (Cash Flow) คือ งบแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสด โดยจะแสดงถึงรายการได้มาและใช้ไปของเงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสดใน 3
กิจกรรมหลัก ๆ คือ
- เงินสดที่ได้จากการดำเนินงาน
- จากการจัดหาเงินทุน
- จากการลงทุน
ดังนั้นความสามารถในการบริหารเงินสดของบริษัท และสภาพคล่องทาง การเงิน จะดูได้จากงบกระแสเงินสด โดยงบกระแสเงินสดที่ดีควรเป็นเงินสดที่ไหล เข้ามาจากการลงทุนมากที่สุดรองลงมาจากการดำเนินงานและจากการจัดหา เงินทุนน้อยที่สุด งบกระแสเงินสดควรจะทำเป็นรายเดือน รายไตรมาส รายปี และอาจจะทำล่วงหน้าไปหลายปี ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของกิจการเพื่อที่จะทำให้รู้ถึงสถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของกิจการนั้น ๆ
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. สภาพคล่อง



2. ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์




3. ความสามารถในการบริหารงาน



4. ความสามารถในการชำระหนี้



8.3 การประเมิณสถาณการณ์จำลอง
เมื่อจัดทำงบประมาณทางการเงินแล้ว ลำดับต่อไปจะทำการประเมินสถานการณ์จำลองเป็นการวิเคราะห์ความไวต่อสถานการณ์เมื่อเกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในอนาคต จะขอยกตัวอย่างการประเมิน
สถานการณ์อยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้
กรณีที่ดี   เช่น ยอดขายเพิ่ม20 % ค่าใช้จ่ายลด 20 %
กรณีปกติ เช่น ยอดขายเพิ่ม10 % ค่าใช้จ่ายลด 10 %
กรณีแย่   เช่น ยอดขายลด20 %  ค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20 %
ซึ่งทำให้ทราบถึงผลกระทบของตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไร เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้ายอดขายลด 20% และค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20%
8.4 การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน
บอกถึงสภาพคล่องของโครงการ หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่จะต้องใช้ไปในการที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ลงทุนไปนั้นกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าจะบอกถึงสภาพคล่องที่ดีกว่า และมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตามเกณฑ์ระยะเวลาคืนทุนนี้ มีจุดอ่อนอยู่ที่การไม่คำนึงถึงค่าของเงินตามเวลาหรือกระแส
เงินที่เกิดขึ้นต่างเวลากัน เกณฑ์นี้นำมารวมกันที่หาระยะเวลาคืนทุนโดยทันที และการไม่นำกระแสเงินสดทุกจำนวนที่เกิดจากโครงการมาพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ จะพิจารณาเฉพาะกระแสเงินสดที่จำเป็นสำหรับการได้คืนทุนเท่านั้น รวมทั้งเกณฑ์นี้จะไม่เป็นธรรมสำหรับโครงการระยะยาวที่มีผลกำไรหลายปี ในอนาคตจะให้น้ำหนักความสำคัญเป็นพิเศษกับโครงการระยะสั้นเป็นหลัก ระยะเวลาคืนทุน หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่โครงการจะให้กระแสเงินสดสุทธิรวมเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรกพอดี
8.5 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
การเริ่มต้นธุรกิจใหม่จะต้องทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนโดยการคำนวณหาจุดคุ้มทุนของธุรกิจก่อน ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนส่วนใหญ่จะใช้กำไรส่วนเกินเป็นหลักในการวิเคราะห์โดยพิจารณาจำนวนสินค้าที่ขายเป็นจำนวนเท่าใด จึงจะมีรายได้เท่ากับค่าใช้จ่าย


หมายเหตุ
ต้นทุนผันแปร หมายถึง ต้นทุนรวมที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขายได้
ต้นทุนคงที่     หมายถึง ต้นทุนรวมที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ผลิตในระหว่างช่วงการผลิตหรือช่วงการขายช่วงหนึ่ง
8.6 การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)
เป็นการประเมินโดยการนำความสำคัญของค่าของเงินตามเวลาเข้ามาคิดด้วย วิธีการนี้จะหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับที่เกิดจากโครงการในแต่ละงวดมารวมกัน แล้วเปรียบเทียบกับมูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนโดยกำหนดอัตราส่วนลดหรือผลตอบแทนที่ต้องการ หากมีค่าเท่ากันหรือมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นศูนย์ แสดงว่า โครงการนั้นคุ้มทุนพอดี หากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเข้ารวมกัน มีมากกว่ามูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุน ถือว่า โครงการนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่เราต้องการหรือคาดหวังไว้ ควรจะลงทุนในโครงการนั้น หากไม่แล้ว ก็ควรปฏิเสธไม่ลงทุนในโครงการนั้น
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ – มูลค่าปัจจุบัน
8.7 การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน (Internal Rate of Return - IRR)
เป็นอัตราส่วนลด/หรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายออกไปเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่คาดว่าจะได้รับเข้ามาตลอดอายุของโครงการ หรือคือการหาส่วนลดหรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ NPV (Net Present Value) เท่ากับ 0
อัตราผลตอบแทนที่ได้จากโครงการ : เป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ = 0
9. แผนฉุกเฉิน
เป็นการบอกถึงเรื่องถ้าเกิดการผิดพลาด กล่าวคือ ถ้าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ยังมีแผนอื่นมารองรับที่จะทำอะไรต่อไปได้กับธุรกิจนี้ อาทิเช่น แปรผันธุรกิจ หรือบริการนี้ไปยังธุรกิจอื่นไปยังแหล่งอื่น หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น เป็นต้น ตัวอย่างของประเด็นความเสี่ยงและการเตรียมความพร้อมที่ควรระบุไว้ในแผนฉุกเฉิน อาทิเช่น
- ยอดขาย/เก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ตามคาดหมาย ทำให้เงินสดหมุนเวียน ขาดสภาพคล่อง และธนาคารไม่ให้วงเงินกู้หรือลดวงเงินกู้
- คู่แข่งตัดราคาหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องระยะยาว
- มีคู่แข่งรายใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทันสมัยกว่า มีสินค้าครบถ้วนกว่า ราคาถูกกว่า เข้าสู่อุตสาหกรรม หรือมาตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
- สินค้าถูกลอกเลียนแบบและขายในราคาที่ถูกต้อง
- สินค้าผลิตไม่ทันตามคำสั่งซื้อเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
- สินค้าผลิตมากจนเกินไป ทำให้มีสินค้าในสต็อกเหลือมาก
- ต้นทุนการผลิต/การจัดการสูงกว่าที่คาดไว้
- เกิดการชะงักการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม
- มีปัญหากับหุ้นส่วนจนไม่สามารถร่วมงานกันได้
10. ภาคผนวก
อาจเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดของคู่แข่งขันที่มีอยู่ในตลาด ของผู้ประกอบการเดิม มีจำนวนมากน้อยเท่าไร และแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่ง ระบุถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน ทางด้านตัวผลิตภัณฑ์ เน้นถึงจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์เดิม บริการเดิมในตลาด แสดงให้เห็นถึงโอกาส ความได้เปรียบในด้านต่าง ๆ


ได้แผนธุรกิจแล้วก็สามารถนำแผนธุรกิจนี้เป็นแนวทางในการทำธุรกิจ ให้กับ บุคคลากรในองค์กร ใช้ประกอบการขอสินเชื่อ หาผู้ร่วมทุ่น ซึ่งในทางปฎิบัตินี้แผนธุรกิจค่อนข้างเป็นเอกสารลับสำคัญ เพราะฉนั้นก็ให้ระมัดระวังในการจัดทำและประชาสัมพันธ์ ส่วนในบทความนี้ผมได้ทำธุรกิจมาหลายแผน พอที่จะเอาแผนธุรกิจของตัวเองเผยแพร่ให้ น้องๆ พนักงาน ลูกศิษย์ ผู้อ่านได้ไว้ศึกษาเป็นแนวทางเป็นตัวอย่างแผนธุรกิจที่ส่งเข้าประกวด โครงการเถ้าแก้น้อย 2012 และได้รับรางวัลดังกล่าว

ตัวอย่างแผนธุรกิจ promshared  (แถมไฟล์ตัวอย่างงบการเงิน)


 

GNOJ@HOME

Tags : มาเขียนแผนธุรกิจกันเถอะ

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view