http://niruth.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

ประวัติและผลงาน

 ติดต่อเรา

สื่อและการเผยแพร่

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

7 เคล็ดลับ "เรียนอย่างไรให้จบตามหลักสูตร 4ปี (แถมพ่วงดีกรีเกียรตนิยม)"

ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : การชาร์จโทรศัท์ทิ้งไว้ทั้งวัน ควรทำหรือไม่ โทรผ่านไลน์ อันตรายจริงป่ะ ห้ามเอามือถือเปียกแช่ข้าวสาร

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลื่นอินเทอร์เน็ต Wi-Fi คลื่นมือถือ เป็นตัวเร่งโลกร้อน จริงหรือ?:คลื่นวิทยุ-คลื่นมือถือ รบกวนสมองได้จริงหรือ? พิสูจน์คลิปทำที่ชาร์จมือถือแบบไร้สายจริงหรือ? กระป๋องน้ำอัดลมเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ได้จริงหรือ? สัญญาณ Wi-Fi อันตรายจริงหรือ?

วิศวกรรมศาสตร์

ข่าวสารและกิจกรรม

Physics

การบริหารจัดการ

อิสรภาพทางการเงิน(Financial Freedom)

หัวข้อวิจัยสนใจ(Interested Topic Research)และโครงการ

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ06/06/2011
อัพเดท04/04/2024
ผู้เข้าชม77,353
เปิดเพจ119,445

สินค้า

iGetWeb.com
AdsOne.com

วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

รายละเอียดของรายวิชา 

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา                         มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา                  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

 

                                                                หมวดที่ ๑  ข้อมูลทั่วไป 

๑.    รหัสและชื่อรายวิชา                    วศฟฟ ๓๕๓ วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

                                                       EGEE 353 Engineering Electromagnetics

๒.  จำนวนหน่วยกิต                           ๓(๓-๐-๖)  หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

๓.    หลักสูตรและประเภทของรายวิชา 

                วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  เป็นรายวิชาในหมวดวิชาเลือก  

๔.    อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

        ๔.๑  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

                                นิรุทธ์ พรมบุตร

                                สถานที่ติดต่อ  : ห้อง ๕๑๕ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

                                โทร.๐๒ ๘๘๙๒๒๒๕ ต่อ ๖๕๐๑-๒ e-mail:egnpb@mahidol.ac.th

                                 www.facebook.com/niruth.p

        ๔.๒  อาจารย์ผู้สอน

                                นิรุทธ์ พรมบุตร

                                สถานที่ติดต่อ  : ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                                โทร.๐๒ ๘๘๙๒๒๒๕ ต่อ ๖๕๐๑-๒ e-mail:egnpb@mahidol.ac.th

                                www.facebook.com/niruth.p

๕.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน 

                ภาคการศึกษาที่ ๑ ชั้นปีที่ ๓  

๖.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)    วศฟฟ ๒๐๑ คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

๗. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites)  ไม่มี

๘.  สถานที่เรียน   

                 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๙.  วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด    ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔

 

หมวดที่ ๒  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ 

 

๑.    จุดมุ่งหมายของรายวิชา   

        เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถ

        ๑.๑ อธิบายทฤษฎีและหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า

        ๑.๒ วิเคราะห์ปริมาณและทิศทางของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้

        ๑.๓ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในงานวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

                         

๒.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา  

                เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานและความรู้ขั้นสูงของทฤษฎีและหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้ารวมถึงสามารถนำไปปรับและประยุกต์ได้จริง

 

หมวดที่ ๓  ลักษณะและการดำเนินการ 

 

๑.    คำอธิบายรายวิชา  

การวิเคราะห์เวกเตอร์ สนามไฟฟ้า สถิต ตัวนำและไดอิเล็กตริก ความจุไฟฟ้า กระแส       การพาและกระแสการนำ สนามแม่เหล็กเนื่องจากกระแส แรงและแรงบิดที่กระทำต่อบ่วงกระแสในสนามแม่เหล็ก ความเหนี่ยวนำ ความเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสการขจัด สมการของแมกซ์เวลล์  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในตัวกลางชนิดไอโซทรอปิก  แนะนำสำหรับสายส่ง สายอากาศ และ ท่อนำคลื่น

Vector analysis, electrostatic fields, conductors and dielectrics, capacitance, convection and conduction currents, magnets fields due to currents, force and torque on a current loop in a magnitic field, electromagnetic induction, displacement current, Maxwell’s equations, electromagnetic waves in isotropic media, introduction to transmission lines, antennas, and wave guides.

                                 

๒.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา 

                จำนวนชั่วโมงบรรยายต่อสัปดาห์                                  ๓            ชั่วโมง

                จำนวนชั่วโมงฝึกปฏิบัติการต่อสัปดาห์                           ๐             ชั่วโมง

                จำนวนชั่วโมงฝึกปฏิบัติงานภาคสนามต่อสัปดาห์              ๐             ชั่วโมง

                จำนวนชั่วโมงการศึกษาด้วยตนเอง                               ๖             ชั่วโมง

 

๓.    จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล 

        ๓.๑ อาจารย์ประจํารายวิชา ประกาศเวลาให้คําปรึกษาผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ

          ๓.๒ อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)

        ๓.๓ นักศึกษาจองวันเวลาล่วงหน้าแล้วมาพบตามเวลา

 

หมวดที่ ๔  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา 

 

๑.    คุณธรรม จริยธรรม 

        ๑.๑    คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (โปรดดู มคอ๒ ภาคผนวก ค)

                 ๑.๑.๑   มีวินัยและตรงต่อเวลา รับผิดชอบ เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ (๑.๒)

                 ๑.๑.๒   ความสามารถในการวินิจฉัยจัดการกับปัญหาทางด้านการใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างผู้รู้และความยุติธรรมและชัดเจน (๑.๔)

        ๑.๒  วิธีการสอน

                    ๑.๒.๑ บรรยาย

                    ๑.๒.๒ การมอบหมายงาน

                    ๑.๒.๓ รายงานเดี่ยว

        ๑.๓  วิธีการประเมินผล

                    ๑.๓.๑ มีวินัยและตรงต่อเวลา รับผิดชอบ เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ประเมินจาก:

                                (๑) สังเกตพฤติกรรมการแบ่งงานของกลุ่มนักศึกษาในช่วงการรายงานกลุ่ม

                    ๑.๓.๒ ความสามารถในการวินิจฉัยจัดการกับปัญหาทางด้านการใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างผู้รู้และความยุติธรรมและชัดเจน ประเมินจาก:

                                (๑) ทักษะในการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับปัญหาในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

                     

๒.  ความรู้  

        ๒.๑  ความรู้ที่ต้องได้รับ (โปรดดู มคอ๒ ภาคผนวก ค)

                    ๒.๑.๑ เนื้อหาสาระและทฤษฎีของแม่เหล็กไฟฟ้า (๒.๑ และ ๒.๒)

                    ๒.๑.๒ วิธีการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า (๒.๓)

        ๒.๒  วิธีการสอน

                    ๒.๒.๑ บรรยาย

                    ๒.๒.๒ มอบหมายงานเดี่ยว

        ๒.๓ วิธีการประเมินผล

                    ๒.๓.๑ เนื้อหาสาระและทฤษฎีของแม่เหล็กไฟฟ้า ประเมินจาก:

                             (๑) การทดสอบย่อย สอบปลายภาค

                    ๒.๓.๒ วิธีการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า ประเมินจาก:

                             (๑) การนำเสนอสรุปการค้นคว้าและเขียนรายงานผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา การ

นำเสนอผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา

                             (๒) การเขียนรายงานหรือสรุปเนื้อหาที่ได้ทบทวน

 

๓.  ทักษะทางปัญญา   

        ๓.๑  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (โปรดดู มคอ๒ ภาคผนวก ค)

                 ๓.๑.๑ ความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในงานวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า (๓.๑ และ ๓.๒)

                 ๓.๑.๒ ความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ และพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านงานวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า (๓.๓)

        ๓.๒   วิธีการสอน

                 ๓.๒.๑ รายงานเดี่ยว

                 ๓.๒.๒ กรณีศึกษา

        ๓.๓  วิธีการประเมินผล

                 ๓.๓.๑ ความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในงานวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า ประเมินจาก:

                                (๑) การนำเสนอผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา และกรณีศึกษาการแก้ปัญหาภายในองค์กร

                                (๒) การเขียนรายงานผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา

                 ๓.๓.๒ ความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ และพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านงานวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า ประเมินจาก:

                                (๑) การเขียนรายงานผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา โดยใช้เหตุผลสนับสนุนดุลยพินิจ

                                                                                                 

๔.    ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 

        ๔.๑  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา (โปรดดู มคอ๒ ภาคผนวก ค)

                ๔.๑.๑ ความสามารถในการตัดสินใจและดำเนินงานด้วยตนเอง (๔.๑)

                ๔.๑.๒ ความรับผิดชอบในการดำเนินงาน (๔.๒ และ ๔.๓)

        ๔.๒   วิธีการสอน

                ๔.๒.๑ รายงานเดี่ยว

                ๔.๒.๒ กรณีศึกษา

        ๔.๓  วิธีการประเมินผล

                ๔.๓.๑ ความสามารถในการตัดสินใจและดำเนินงานด้วยตนเอง ประเมินจาก:

(๑) การรายงานผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา

                ๔.๓.๒ ความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ประเมินจาก:

                           (๑) การรายงานผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา

                           (๒) ความตรงต่อเวลาในการส่งรายงาน

 

๕.  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 

        ๕.๑  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา (โปรดดู มคอ๒ ภาคผนวก ค)

                ๕.๑.๑ ทักษะการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสำหรับวิชาชีพ (๕.๑)

                ๕.๑.๒ สามารถศึกษาประเด็นปัญหาที่สำคัญโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลเชิงสถิติ (๕.๒)

                ๕.๑.๓ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าข้อมูล (๕.๓)

        ๕.๒  วิธีการสอน

                ๕.๒.๑ การนำเสนอโดยใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ

                ๕.๒.๒ การหาข้อมูลโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

        ๕.๓  วิธีการประเมิน

                ๕.๓.๑ ทักษะการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสำหรับวิชาชีพ ประเมินจาก:

                           (๑) การสอบภาคปฏิบัติ

                ๕.๓.๒  สามารถคัดกรองข้อมูลทางสถิติเพื่อการศึกษาประเด็นปัญหาที่สำคัญ ประเมินจาก:

                           (๑) การใช้โปรแกรมในการนำเสนอความคิด เช่น เอ็กเซล พาวเวอร์พอยท์ เป็นต้น

                ๕.๓.๒ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าข้อมูล  ประเมินจาก:

                           (๑) การใช้โปรแกรมค้นหา (search engines) ประเภทต่างๆผ่านอินเตอร์เน็ท เช่น กูเกิล (Google) เป็นต้น

                           (๒) รายงานการค้นคว้าข้อมูล

 

หมวดที่ ๕  แผนการสอนและการประเมินผล 

๑.    แผนการสอน                              

สัปดาห์ที่

หัวข้อ

จำนวนชั่วโมง 

กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้ 

         อาจารย์ 

บรรยาย

 

ปฏิบัติ 

ศึกษาด้วย 

ตนเอง 

บทนำ

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

การวิเคราะห์เวกเตอร์

บรรยาย 

นิรุทธ์ พรมบุตร

กฏของคูลอมบ์ ความเข้มสนามไฟฟ้า

 ๓

 ๖

 บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

ความหนาแน่นฟลักซ์ไฟฟ้า

บรรยาย 

นิรุทธ์ พรมบุตร

กฏของเกาส์และไดเวอร์เจนซ์

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

พลังงานศักย์ไฟฟ้า,ศักย์ไฟฟ้า

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

สมการปัวซองและลาปลาซ

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

สอบกลางภาค  (ตย.ข้อสอบ:SU)      

-

-

-

 

 

สนามแม่เหล็ก๑

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๐

สนามแม่เหล็ก๒

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๑

แรงแม่เหล็ก สารแม่เหล็ก และค่าความเหนี่ยวนำ๑

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๒

แรงแม่เหล็ก สารแม่เหล็ก และค่าความเหนี่ยวนำ๒

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๓

สมการของแมกซ์เวลล์๑

บรรยาย กรณีศึกษา

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๔

สมการของแมกซ์เวลล์๒

บรรยาย กรณีศึกษา

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๕

ทบทวน และบทนำสายส่ง สายอากาศ ท่อนำคลื่น 

บรรยาย กรณีศึกษา รายงานเดี่ยว

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๖

สอบปลายภาค  

(Final Examination)                             

-

-

-

-

-

 

รวมจำนวนชั่วโมงตลอดภาคการศึกษา

๔๕

๙๐

 

 

 

๒.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กิจกรรมที่

ผลการเรียนรู้

วิธีการประเมิน

สัปดาห์ที่ประเมิน

สัดส่วนของการประเมินผล

๒.๑

การสอบกลางภาค

การสอบปลายภาค

๘ และ

๑๖

๓๕%

๔๕%

๒.๒-๒.๓, ๓.๑-๓.๓ และ ๔.๑-๔.๓

การสอบย่อย

การนำเสนอผลการวิเคราะห์ กรณีศึกษา

การเขียนรายงาน

 

ตลอดภาคการศึกษา

๑๐%

๑.๒ และ๑.๔

การมีส่วนร่วมและความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ความตรงต่อเวลาในการส่งงาน

ตลอดภาคการศึกษา

 

๑๐%

 

 

 


 

 

หมวดที่ ๖  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน 

 

๑.    ตำราและเอกสารหลัก 

 

๒.  เอกสารและข้อมูลสำคัญ

                - 

๓.  เอกสารและข้อมูลแนะนำ 

                - 

 

 

 

                                หมวดที่ ๗  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

 

๑.    กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา 

        การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนําแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

        ๑.๑ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

        ๑.๒ การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน

        ๑.๓ แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

        ๑.๔ ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทําเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา

 

๒.  กลยุทธ์การประเมินการสอน 

        ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

        ๒.๑ การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน

        ๒.๒ ผลการสอบ

        ๒.๓ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

 

๓.    การปรับปรุงการสอน 

หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

        ๓.๑ สัมมนาการจัดการเรียนการสอน

        ๓.๒ การวิจัยในและนอกชั้นเรียน

 

๔.    การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา 

        ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

        ๔.๑ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช้อาจารย์ประจําหลักสูตร

        ๔.๒ มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม

 

๕.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา 

        จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

        ๕.๑ ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตาม    ข้อ ๔

        ๕.๒ เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้ กับปัญหา

ที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view