http://niruth.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

ประวัติและผลงาน

 ติดต่อเรา

สื่อและการเผยแพร่

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

7 เคล็ดลับ "เรียนอย่างไรให้จบตามหลักสูตร 4ปี (แถมพ่วงดีกรีเกียรตนิยม)"

ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : การชาร์จโทรศัท์ทิ้งไว้ทั้งวัน ควรทำหรือไม่ โทรผ่านไลน์ อันตรายจริงป่ะ ห้ามเอามือถือเปียกแช่ข้าวสาร

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลื่นอินเทอร์เน็ต Wi-Fi คลื่นมือถือ เป็นตัวเร่งโลกร้อน จริงหรือ?:คลื่นวิทยุ-คลื่นมือถือ รบกวนสมองได้จริงหรือ? พิสูจน์คลิปทำที่ชาร์จมือถือแบบไร้สายจริงหรือ? กระป๋องน้ำอัดลมเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ได้จริงหรือ? สัญญาณ Wi-Fi อันตรายจริงหรือ?

วิศวกรรมศาสตร์

ข่าวสารและกิจกรรม

Physics

การบริหารจัดการ

อิสรภาพทางการเงิน(Financial Freedom)

หัวข้อวิจัยสนใจ(Interested Topic Research)และโครงการ

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ06/06/2011
อัพเดท07/02/2024
ผู้เข้าชม76,129
เปิดเพจ118,195

สินค้า

iGetWeb.com
AdsOne.com

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

 



 

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า?

6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

อ.วศ.ดร. นิรุทธ์ พรมบุตร

อาจารย์ประจำ, ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
อดีตผู้ช่วยคณบดี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.ฝ่ายวิจัยและระบบสนับสนุน, งานกายภาพและอาคารสถานที่
วศ.บ.ไฟฟ้า(เกียรตินิยม อันดับ 1) วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล
วศ.ม.ไฟฟ้าสื่อสาร วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Ph.d. Management IAME.

     ในช่วงฝนตกพายุเข้าประเทศไทยแบบนี้ หลายคนต้องใช้ชีวิตติดอยู่บนถนน หรือในที่โล่งนอกอาคารสถานที่  หลายคนอาจต้องตากฝนกลับบ้าน ท่ามกลางสถานการณ์ฝนตกฟ้าแลบ ซึ่งอาจมีอันตรายหลายอย่างที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ช่วงนี้พี่ๆ งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ได้นำความรู้และข้อเตือนใจดีๆ จาก เหล่าคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาฝาก



1. ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือกลางแจ้ง ในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

     เนื่องจากมือถือเป็นการใช้งานบนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์มือถือได้  ในช่วงที่เราอยู่ระหว่างการใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น เมื่อเกิดฝนตกฟ้าคะนอง ควรจะระมัดระวังเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโอกาสที่จะเหนี่ยวนำเข้ากระแสไฟฟ้ามายังเสาอากาศขณะมีการใช้งานได้ได้มากขึ้น  เช่นเดียวกันกับโลหะต่างๆ เช่นทองคำ เงิน นาก ที่จะกลายเป็นตัวเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดฟ้าผ่า ซึ่งผู้ที่สวมใส่โลหะดังกล่าวจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินอยู่นอกอาคารบ้านเรือนท่ามกลางฝนตกฟ้าคะนอง

     โดยหลักการง่ายๆ คือ ขณะที่ฝนตกเมื่อให้รีบปิดโทรศัพท์ของท่าน และเข้าหลบในที่ปลอดภัย เมื่อมีแสงฟ้าแลบ และไม่มีฟ้าผ่า    ถึงแม้ว่าหลบแล้วจะยังไม่มีฟ้าผ่าเกิดขึ้น ก็จะต้องอยู่ในอาคารประมาณ 30 นาที จึงจะสามารถออกจากตัวอาคารได้อย่างปลอดภัย ถึงแม้ว่าโทรศัพท์จะไม่ใช่สื่อล่อฟ้า แต่ต้องไม่ลืมว่า ภายในโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนในปัจจุบันนั้น ประกอบไปด้วยแผ่นโลหะรวมทั้งแบตเตอรี่ที่สามารถเป็นตัวล่อฟ้าได้ ดังนั้น การใช้โทรศัพท์มือถือในสถานที่กลางแจ้งท่ามกลางฝนฟ้าคะนองจึงมีความเสี่ยงที่อาจจะถูกฟ้าผ่าได้ แถมการได้รับกระแสไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำเข้ามาในโทรศัพท์ยังอาจทำให้เกิดระเบิดจนทำให้ผู้ใช้งานได้รับบาดเจ็บได้อีกด้วย

2. ถอดวัตถุหรือเครื่องประดับที่เป็นโลหะออกจากร่างกาย

     เนื่องจากฟ้าผ่าคือ ปรากฏการณ์ที่ ประจุไฟฟ้าคายประจุไฟฟ้าจากท้องฟ้าลงบนพื้นดินซักที่หนึ่ง ซึ่งโดยหลักการทางไฟฟ้ามักจะเดินทางได้สะดวกบน โลหะ ดังนั้นการใส่เครื่องประดับก็เหมือนทำตัวเป็นสายล่อฟ้าดีๆ นั่นเอง ซึ่งเสี่ยงและอันตราย ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง

3. ไม่ควรดูโทรทัศน์ขณะฟ้าร้องฟ้าผ่า

     แบบในที่ผู้ใหญ่เคยเตือนเราตั้งแต่สมัยยังเด็กให้ปิดทีวีเวลาฟ้าร้องนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะโทรทัศน์ส่วนใหญ่ต้องเชื่อมจากเสาอากาศ จานดาวเทียม หรือไม่ก็สายเคเบิลที่พ่วงจากภายนอก ดังนั้นจึงควรดึงสายเคเบิลออกจากโทรทัศน์เวลามีฝนตกฟ้าคะนองด้วย เพราะกระแสไฟฟ้าที่ผ่าลงบนเสาสัญญาณก็อาจทำให้โทรทัศน์เสียหายได้

4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่ง

     ไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้งท่ามกลางฝนตกฟ้าคะนองเช่นเดียวกัน เพราะในที่โล่งหากเราไปยื่นอยู่โล่งๆ ตัวเราจะโดดขึ้นมาในทางศักย์ไฟฟ้า ทำให้ประจุถ่ายเทลงมาหาตัวเราได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับพื้นดินโล่งๆ จึงไม่ควรยืนอยู่ในที่โล่ง  ยิ่งกว่านั้นใครที่คิดว่ายืนกางร่มกลางฝนแล้วจะปลอดภัยนั้น ขอบอกว่ายิ่งเป็นอันตรายมากกว่าเดิมเสียอีก เพราะโลหะทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นร่ม โทรศัพท์ หรือโลหะชนิดอื่นๆ ก็ล้วนแต่เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ ดังนั้นควรหลบเข้าหาเคหะสถาน ที่สามารถบังฝน บังตัวเราได้จะปลอดภัยกว่า

5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำ

     นอกจากต้องระมัดระวังตัวนำไฟฟ้าที่เป็นโลหะแล้ว น้ำก็เป็นอีกหนึ่งตัวนำไฟฟ้าที่ต้องระวังอย่างมากขณะฝนตก โดยเฉพาะควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยในน้ำท่วมขังเพราะอาจมีกระแสไฟฟ้าทั้งจากเสาไฟฟ้า และจากฟ้าผ่าที่อาจที่รั่วไหลมากับน้ำได้ โดยเฉพาะบริเวณที่ใกล้กับเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า

6. ถอดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าออก

     ควรดึงเสาอากาศของโทรทัศน์ออก ถอดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดอัคคีภัยหากเกิดฟ้าผ่าลงมาที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและตัวบ้านได้ เพื่อความปลอดภัย แนะนำติดอุปกรณ์ที่เรียกว่า Surge Protector กันครับ มันคืออุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ได้ เช่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า ปัญหาที่เกิดจากระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเหนี่ยวนำไฟฟ้า สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า  ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของไฟฟ้า กระชาก รั่ว จากการถูกฟ้าผ่าเข้ามายังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบ้านได้

     ก็หวังว่าเกร็ดความรู้ สิ่งที่ควรทำและห้ามทำที่พี่ๆ ได้นำเสนอ จะมีประโยชน์ในการใช้ชีวิตให้ปลอดภัยในช่วงหน้าฝนอย่างนี้นะครับ หากต้องการข้อมูลความรู้ด้านไฟฟ้า ก็สามารถสอบทางได้ทั้งผ่านทางงานประชาสัมพันธ์ หรือ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหิดล ก็จะมีเหล่าคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและคลายข้อสงสัยได้

Tags : ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view