http://niruth.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

ประวัติและผลงาน

 ติดต่อเรา

สื่อและการเผยแพร่

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

7 เคล็ดลับ "เรียนอย่างไรให้จบตามหลักสูตร 4ปี (แถมพ่วงดีกรีเกียรตนิยม)"

ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : การชาร์จโทรศัท์ทิ้งไว้ทั้งวัน ควรทำหรือไม่ โทรผ่านไลน์ อันตรายจริงป่ะ ห้ามเอามือถือเปียกแช่ข้าวสาร

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลื่นอินเทอร์เน็ต Wi-Fi คลื่นมือถือ เป็นตัวเร่งโลกร้อน จริงหรือ?:คลื่นวิทยุ-คลื่นมือถือ รบกวนสมองได้จริงหรือ? พิสูจน์คลิปทำที่ชาร์จมือถือแบบไร้สายจริงหรือ? กระป๋องน้ำอัดลมเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ได้จริงหรือ? สัญญาณ Wi-Fi อันตรายจริงหรือ?

วิศวกรรมศาสตร์

ข่าวสารและกิจกรรม

Physics

การบริหารจัดการ

อิสรภาพทางการเงิน(Financial Freedom)

หัวข้อวิจัยสนใจ(Interested Topic Research)และโครงการ

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ06/06/2011
อัพเดท04/04/2024
ผู้เข้าชม77,250
เปิดเพจ119,338

สินค้า

iGetWeb.com
AdsOne.com

อิสรภาพทางการเงิน

อิสรภาพทางการเงิน

ในชีวิตจริงที่นักเรียนตั้งแต่เกิดมาและอยู่ในโลกใบนี้ พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ต่างสอนให้เราตั้งใจเรียน จะได้มีการมีงานทำ จะได้ไม่ลำบากซึ่งก็ถูกต้องแต่ไม่หมด (เป็นเพียง 1 ใน 4 ข้อ จากหนทางสู่อิสรภาพทางการเงิน) และในการศึกษาของประเทศไทยก็ไม่ได้สอนเรื่องการเงินที่เป็นพื้นฐานนี้  จากสิ่งที่ควรปฎิบัติเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ได้ และมีอิสรภาพทางการเงิน...

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง – เราจะมีอิสรภาพทางการเงินที่แท้จริงก็ต่อเมื่อ เรา...

1.มีความมั่งคั่ง และมั่นคงตามสมควร

2.มีอิสระในการเลือก ตัดสินใจ ใช้ชีวิต โดยไม่มี “เงิน” เป็นเครื่องพันธนาการ

3.มีเวลาได้อยู่กับคนที่เรารัก และได้ทำสิ่งที่เรารัก

4.แบ่งปันกลับคืนสู่ผู้อื่นและสังคมตามกำลัง

หนทางสู่อิสรภาพทางการเงิน
1. รู้จักหา
            คือ รู้วิธีใช้ความสามารถของตน (Human Assets) ในการหารายได้ การได้เงินเดือนจากการทำงานของเราเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ยิ่งการงานประสบความสำเร็จก็จะสูงขึ้น ยิ่งส่งผลให้ความสามารถที่จะออมได้มีมากขึ้น ซึ่งเป็นรากฐาน อย่างดีของการสร้างความมั่งคั่งให้เกิดขึ้น ช่องทางของการรู้หาไม่ได้มีเฉพาะการเป็นลูกจ้าง แต่การเลือกนำเงินทุนและแรงงานของเราไปลงทุนเป็นผู้ประกอบการ  (Entrepreneur) ก็ทำให้มีโอกาสจะได้รับผลตอบแทนที่สูง ซึ่งเป็นรากฐานของการออมเพื่อความมั่งคั่งได้เป็นอย่างดี 
2. รักษาเก็บ
         การแบ่งรายได้มาเพื่อออมทันทีเป็นการสร้างวินัยการเงินเพื่อให้ฐานของเงินออมขยายตัวเพิ่มรองรับการสร้างความมั่งคั่งในอนาคต และเงินออมควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามวัตถุประสงค์ของการออม ซึ่งมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว 
3. ทำให้งอกเงย
           แนวคิดออมดีกว่าไม่ออม และออมก่อนรวยกว่า ยังไม่พอที่จะสร้างความมั่งคั่งได้ เราจะต้องเรียนรู้ว่าเงินออมของเรามีทางเลือกอะไรบ้างที่จะนำไปขยายผลให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ ไม่ใช่ฝากธนาคารเพียงอย่างเดียว มีช่องทางการลงทุนที่ทำให้งอกเงย เรียงตามลำดับ ความเสี่ยงและผลตอบแทน
 1. เงินฝาก/พันธบัตร
2. หุ้นกู้
3. หน่วยลงทุน
4. หุ้น
5. ทองคำ
6. ของสะสม
7. อสังหาริมทรัพย์
8. อนุพันธ์
  4. ส่งต่อความมั่งคั่ง ความดี จิตวิญญาณที่ดี
ความมั่งคั่งจะมีประโยชน์อะไร ถ้าไม่สามารถส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้ การเป็นพนักงาน ข้าราชการ มีอายุการทำงานที่จำกัดและไม่สามารถส่งต่อความมั่งคั่งได้อย่างครบถ้วน ในขณะที่การทำธุรกิจส่วนตัวสามารถที่จะส่งต่อความมั่งคั่งนี้ได้อย่างสมบูรณ์ 

6 พื้นฐานสู่ อิสรภาพทางการเงิน – จริง ๆ ชีวิตไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย แต่คนเราเองชอบทำให้มันยุ่งยากซับซ้อน เพียงแค่พื้นฐาน 6 ข้อ พวกเราก็จะเป็นไทแล้ว

1.        เก็บ (ออม) 10% ของรายรับทุกประเภท 

การออมเป็นจุดเริ่มต้นสู่ อิสรภาพทางการเงิน เริ่มต้นการออมง่าย ๆ โดยการเก็บ 10% จากรายรับทุกอย่างทันทีที่ได้รับเงินมาก่อนหักค่าใช้จ่ายหรือค่าผ่อนชำระ เข้าฝากธนาคารให้เป็นนิสัย

    2.        ชีวิตที่พอเพียง 

ควบคู่ไปกับการออมเงิน การใช้ชีวิตแบบพอเพียง เป็นอีกส่วนสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่อิสรภาพทางการเงิน เพราะจะว่าไปแล้ว การหักเงินเก็บ 10% นั้น เราทำเฉพาะวันที่ได้รับเงินมา ซึ่งอาจจะเป็นเงินเดือน ค่าเช่า หรืออื่น ๆ เดือนหนึ่ง ๆ ทำได้แค่ไม่กี่วัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ทำได้แค่วันเงินเดือนออกวันเดียว แต่สิ่งที่เราต้องทำทุกวันก็คือ ใช้ชีวิตที่พอเพียง ด้วยหลักการง่าย ๆ ของในหลวงเรา

  • รู้จักพอประมาณ – ไม่ทำอะไรเกินตัว เกินกำลัง รู้จักรอคอย ก้าวไปตามจังหวะชีวิตที่จะเอื้ออำนวย ต้องรู้จักตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เราจะไหวมั๊ย?” “เราจะทำได้มั๊ย” หรือเวลาจะไปกู้ยืมใคร “กู้มากไปมั๊ย” หรือ “จะหามาคืนเขายังไง? ได้มั๊ย?” แค่นี้ก็ถือว่าได้ใช้ชีวิตพอประมาณแล้ว
  • มีเหตุผล – พระท่านว่า “มีสติ” เดี๋ยวสติมา ปัญญาก็ตามมาเอง สติเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิต เพราะคนเราแม้อายุมาก ความรู้ดี เรียนสูง แต่หากไม่มีสติคอยควบคุม คอยสอบทาน ชีวิตก็เหลวแหลกได้เหมือนกัน การรู้ตัวอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะหากคนเรารู้ตัวตลอดเวลาว่า สิ่งที่เราทำ ทำเพื่ออะไร หรือหากเป็นเรื่องทางการเงิน การแยกให้ออกระหว่าง “ความจำเป็น” กับ “ความอยาก” ได้ ก็ช่วยทำให้ชีวิตเราไม่ลำบากแล้ว
  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดี – ชีวิตไม่ใช่เรื่องง่ายไปเสียทั้งหมด ทำอะไร? ต้องวางแผน คิดจะซื้อ จะใช้จ่าย จะลงทุนอะไร? ต้องมีแผนการทั้งหมด ซึ่งสิ่งสำคัญคือเราต้องตั้งคำถามให้ตัวเองมาก ๆ ก่อนที่จะทำอะไรก็ตาม หัดตั้งคำถามเช่น “What IF?” หรือ “แล้วถ้าเกิด...” เช่น ถ้าเกิดมันไม่เป็นอย่างที่คิดจะทำอย่างไร? ถ้าเกิดเราตกงานขึ้นมาแล้วเราจะทำยังไง? เราจะผ่อนต่อได้มั๊ย? ถ้าเราหรือพ่อแม่ไม่สบายขึ้นมาจะเอาเงินที่ไหนมารักษาตัว? เป็นต้น ถ้าเรารู้จักคิดอย่างนี้ เราก็จะรู้จักเตรียมตัวรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น การมีภูมิคุ้มกันในตัวยังรวมถึง การรู้จักทำงบประมาณรายจ่าย และการวางแผนเกษียณ เพื่อให้ชีวิตในบั้นปลายที่มีความสุขอีกด้วย

3.        กันเงินสำรองไว้ 6 เดือน 

จากข้อหนึ่งหักเก็บเงิน 10% ของรายได้ทุกอย่าง คงจะมีคนอยากถามว่า “แล้วจะให้เก็บไปถึงเมื่อไหร่?” คำตอบง่าย ๆ ก็คือ อย่างน้อยที่สุด ต้องเก็บให้มีสำรองไว้ใช้จ่ายและผ่อนเงินกู้ได้ 6 เดือน “แล้วทำไมต้อง 6 เดือน?” เพราะว่ามันน่าจะมากพอที่จะทำให้คุณตั้งสติและตั้งตัวได้ หากเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น เช่น เจ้านายให้ออกจากงาน เจ็บป่วยหนักจนไม่สามารถทำงานได้ ถ้าประกอบธุรกิจส่วนตัว ก็ควรกันเงินไว้ใช้จ่ายสำหรับ 6 เดือนด้วย เผื่อว่าทุกอย่างมันผิดไปจากแผนการที่วางไว้ ไม่ใช่มีเท่าไหร่ ลงทุนหมด หรือใช้หมด ในกรณีที่มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอนาคต ก็จะต้องปรับยอดเงินเก็บ 6 เดือนให้สอดคล้องกันด้วย หลักคิดนี้สอดคล้องกับหลักชีวิตพอเพียง ซึ่งจะช่วยให้เรามีเบาะรองกระแทก จากวิกฤติทางการเงินที่พร้อมจะเกิดขึ้นกับตัวเรา และคนรอบตัวเราได้ทุกเมื่อ

 

4.        ประกันความเสี่ยง 

หลังจากที่ปฏิบัติได้ 3 ข้อแล้ว เราต้องคิดถึงเรื่องการประกันความเสี่ยง เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรที่แน่นอน ประมาทไม่ได้ เพราะฉะนั้นการทำประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัยต่าง ๆ ก็จำเป็น เพราะแม้เรามีเงินสำรองสำหรับ 6 เดือนแล้ว ถ้าถึงคราวซวยจริง ๆ คงไม่พอแน่ ๆ กฎทองของคนขายประกันคือ “คุณไม่สามารถซื้อประกันได้ในเวลาที่คุณต้องการ” หมายถึงเมื่อคิดว่าต้องมีประกัน มันก็สายไปแล้ว

ในด้านการลงทุน หากมีกำไรจากการลงทุน แล้วไม่กันสำรองไว้ต่อยอดธุรกิจ หรือไว้รับมือกับวิกฤติ ก็เป็นการละเลยต่ออนาคตของตัวเองที่ไม่น่าให้อภัยได้ เพราะฉะนั้น เราต้องคิดให้เลวร้ายที่สุด และเตรียมป้องกันเพื่อเราจะได้รับมือกับทุกสถานการณ์ได้

 

5.        เรียนรู้ตลอดชีวิต 

หัวข้อนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่คนทั่วไปมักจะลืม เราเสียรู้ เราถูกหลอก เรารับกับการขาดทุนที่เกิดขึ้นของตัวเองไม่ได้ เพราะอะไร? ก็เพราะเราไม่รู้จักสิ่งที่เราทำนั่นเอง “จงลงทุนเมื่อคุณรู้จักและเข้าใจมันอย่างแท้จริง” (High Understanding, High Return)

การลงทุนที่ดี คือ การลงทุนในสิ่งที่เรารู้จักและเข้าใจมัน มันจะขึ้นก็รู้ จะลงก็เข้าใจ อย่างนี้เรียกว่าการลงทุน มหาเศรษฐีของโลก วอเร็น บัฟเฟตต์ กล่าวว่า “ศัตรูตัวฉกาจของการลงทุนไม่ใช่ตลาด หรือสภาพเศรษฐกิจ แต่เป็นตัวลงทุนเองนั่นแหละ” การลงทุนไม่มีความยาก หรือง่ายแต่อย่างใดเลย นักลงทุนนั่นแหละที่ทำให้มันยาก ดังนั้นหากเราต้องการทำเงินให้งอกเงย มีความสุขกับการเงินและการลงทุน จงใส่ใจเรียนรู้ให้สิ่งที่เราสนใจ เพราะความรู้จะทำให้เราประสบความสำเร็จ จงเลิกใส่ใจกับคำบอกเล่าและคำแนะนำทั่วไปที่เราไม่เข้าใจมัน เพราะส่วนใหญ่เราจะต้องล้มเหลวเพราะมัน

 

6.        “ให้” ตามกำลัง

เราจะเป็นคนมั่งคั่งไม่ได้เลย ถ้าเราไม่รู้จักการ “ให้” ทุกครั้งที่เราให้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นของมีค่าหรือไม่ จับต้องได้หรือไม่ จิตใต้สำนึกจะคอยตอกย้ำตัวเราเสมอว่า “เรามีความมั่งคั่ง” อย่างน้อยก็มากกว่าที่เราได้ปันให้ผู้อื่น เราสามารถให้ แบ่งปัน และช่วยเหลือคนรอบข้างได้ตลอดเวลา การหยิบยื่นให้ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความเอื้ออาทร การแบ่งปัน การให้เกียรติ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าควรแก่การมอบให้กันทั้งสิ้น

สังคมจะมีความสุขได้ ถ้าผู้คนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ร่วมส่งเสริมแนวคิดการให้ตามกำลัง แบ่งปันสู่ผู้ที่ด้อยกว่า เพื่อสังคมที่มีความสุข “อย่ารอให้พร้อม ถึงคิดให้ผู้อื่น เพราะเท่าที่ท่านมีอยู่ ก็อาจจะมากเพียงพอสำหรับใครบางคนแล้ว”

 

พุทธภาษิต “ผู้ให้ย่อมสง่างามเสมอ”

 

ตอนนี้พวกเราได้อ่านบทความข้างบนนี้แล้ว พวกเราลองนึกถึง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงของเรา ดูสิครับ ว่ามันเหมือนกันตรงไหน ต้องขอแอบบอกนะครับว่า ความคิด “อิสรภาพทางการเงิน” นี้ เป็นแนวคิดของพวกฝรั่งนะครับเนี่ย แนวพระราชดำริของในหลวงของเราตั้งกี่สิบปีที่แล้ว ตอนนี้โดนพวกฝรั่งแอบเอาไปลอก แล้วกลับมาสอนเราอีกแล้วครับ

เอกสารประกอบคำบรรยาย

1. หนทางสู่อิสรภาพทางการเงิน(The way to Financial Freedom)

2. การวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเทคนิค


นิรุทธ์ พรมบุตร,DBA

CEO,athomegroup


Tags : Financial Freedom

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view