http://niruth.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

ประวัติและผลงาน

 ติดต่อเรา

สื่อและการเผยแพร่

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

7 เคล็ดลับ "เรียนอย่างไรให้จบตามหลักสูตร 4ปี (แถมพ่วงดีกรีเกียรตนิยม)"

ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : การชาร์จโทรศัท์ทิ้งไว้ทั้งวัน ควรทำหรือไม่ โทรผ่านไลน์ อันตรายจริงป่ะ ห้ามเอามือถือเปียกแช่ข้าวสาร

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลื่นอินเทอร์เน็ต Wi-Fi คลื่นมือถือ เป็นตัวเร่งโลกร้อน จริงหรือ?:คลื่นวิทยุ-คลื่นมือถือ รบกวนสมองได้จริงหรือ? พิสูจน์คลิปทำที่ชาร์จมือถือแบบไร้สายจริงหรือ? กระป๋องน้ำอัดลมเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ได้จริงหรือ? สัญญาณ Wi-Fi อันตรายจริงหรือ?

วิศวกรรมศาสตร์

ข่าวสารและกิจกรรม

Physics

การบริหารจัดการ

อิสรภาพทางการเงิน(Financial Freedom)

หัวข้อวิจัยสนใจ(Interested Topic Research)และโครงการ

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ06/06/2011
อัพเดท07/02/2024
ผู้เข้าชม76,124
เปิดเพจ118,190

สินค้า

iGetWeb.com
AdsOne.com

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don't  


Do...

            - แต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย

            - มัดผมให้เรียบร้อย สำหรับผู้หญิง ให้พอไม่มีผมรุ่มร่าม

            - ส่วนผู้ชายไว้รองทรงได้ แต่อย่ามาแบบรากไทร หรือทรงแฟชั่นเกินไป

            - ยิ้มเยอะๆ  ไว้สร้างความประทับใจครั้งแรก  first impression สร้างความรู้สึกดีๆ ให้กับอาจารย์ด้วย

            - เตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ให้ครบ

            - พูดจาฉะฉาน

            - สบตากรรมการ เพื่อแสดงความจริงใจและมุ่งมั่น

            - ปิดโทรศัพท์มือถือก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์

            - ทักทายด้วยการไหว้ทั้งตอนเข้าห้องและออกห้องสัมภาษณ์

            - ตอบให้เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องเกร็งมาก หรือ เล่นจนเกินไป

            - ติดตามข่าวสารการศึกษา วิชาการในสาขานั้นๆ ที่นักเรียนสนใจ

 

Don't...

            - อย่ามองพื้นหรือฝ้า หรือ มองออกไปด้านนอก ที่อื่นๆ  ทำให้เราดูเป็นคนขาดความมั่นใจ

            - อย่าถามคำตอบคำ

            - อย่า "แร๊ง" หรือ ก้าวร้าว aggressive เกินไป ใส่อาจารย์ ทั้งทางคำพูด หรือ กิริยาท่าทาง

            - แต่งตัว หรือทำสีผมฉูดฉาด ถึงแม้ว่าเรียนในมหาลัยจะอิสระมากขึ้น แต่งตัวได้มากขึ้น แต่การนำแฟชั่นตั้งแต่สอบสัมภาษณ์ อาจจะโดนตัดคะแนน หรืออาจถูกเพ่งเล็งตอนเปิดเทอมได้

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนออกจากบ้าน

เริ่มกันตั้งแต่ก่อนออกจากบ้านกันเลยครับ ต้องสำรวจตัวเองกันซะหน่อยว่าลืมของอะไรรึเปล่า แต่งตัวเรียบร้อยไหม เพราะช่วงนาทีเร่งด่วนยามเช้า รถติดและคนเยอะแน่ๆ ต้องเผื่อเวลาในการเดินทางไปมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ทำการสอบสัมภาษณ์ ถ้าลืมอะไร ก็อาจจะเสียเวลาจนทำให้เสียโอกาสได้

เครื่องแต่งกาย ใส่ชุดนักเรียนสุภาพ เสื้อผ้าหน้าผมต้องพร้อม น้องๆ หลายคนที่ปิดเทอมนานผมอาจจะยาว บางคนก็ทำสีผม ตัดออกสักนิดหรือรวบผมให้เรียบร้อยสำหรับน้องผู้หญิง กลับมาทำผมดำสักหน่อย แล้วพยายามแต่งกายให้ถูกระเบียบ เพื่อให้เกิดความประทับใจตั้งแต่แรกเจอ

เอกสารที่ทางมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต้องการ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาระเบียนผลการศึกษา สำเนาประกาศนียบัตรทางการศึกษา สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ – สกุล ฯลฯ เตรียมทั้งฉบับจริงและฉบับสำเนาไว้ให้พร้อม

บัตรประจำตัวประชาชน ต้องติดตัวไว้ตลอดเลยเพราะเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าเรามาสอบสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง

รูปถ่าย น้องๆ ต้องเข้าไปศึกษาว่าทางมหาวิทยาลัยต้องการรูปขนาดเท่าไร ใช้กี่รูป ต้องเตรียมให้พร้อม

ผลงาน/แฟ้มแสดงผลงาน สัมภาษณ์รอบแอดมิชชันไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีก็เป็นการแสดงความโดดเด่น และมีเรื่องให้พูดคุยกับกรรมการสอบสัมภาษณ์มากขึ้น

อุปกรณ์เครื่องเขียน ปากกา ดินสอ ยางลบ น้ำยาลบคำผิด เตรียมให้พร้อมนะ เวลาต้องเขียนหรือลบอะไรจะได้พร้อมไม่ต้องวิ่งหา

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ นำไปใช้สอบติดแน่นอน

ก้าวเข้าสู่ห้องสัมภาษณ์

การสร้างความประทับใจตั้งแต่แรกเจอจะทำให้การสัมภาษณ์นั้นผ่อนคลายและง่ายขึ้น เช็คความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกาย ปิดมือถือ ตั้งสติ ยิ้มแล้วค่อยเดินเข้าไปในห้องสอบสัมภาษณ์อย่างมั่นใจนะครับ

การนั่งสัมภาษณ์ เมื่อเดินเข้ามาแล้ว อย่าลืมยกมือไหว้กรรมการทุกท่าน ถ้ากรรมการไม่เชิญให้นั่งแต่มีเก้าอี้สำหรับนั่ง ก็ขออนุญาตก่อนแล้วก็นั่งและกล่าวขอบคุณ พร้อมเข้าสู่การสัมภาษณ์ อย่าลืมนั่งตัวตรง เวลาตอบคำถามให้สบตากรรมการและยิ้มเข้าไว้ด้วยนะ หลังจากสัมภาษณ์เสร็จอย่าลืมกล่าว “ขอบคุณ” ด้วยนะครับ

การยืนสัมภาษณ์ คล้ายๆ กับนั่ง เพียงแต่ต้องจัดระเบียบท่ายืนตัวเองมากกว่า เพราะกรรมการเห็นเราทั้งตัว ดังนั้น ยืนเก็บมือ ตัวตรง ยิ้มและมั่นใจเข้าไว้ ยกมือไหว้กรรมการ แล้วก็เริ่มการตอบคำถาม อย่าลืมสบตากรรมการด้วยนะครับ หลังจากสัมภาษณ์เสร็จอย่าลืมกล่าว “ขอบคุณ” เช่นกัน

ให้แนะนำตัวเอง

คำถามนี้เป็นคำถามที่วัดความมีวุฒิภาวะในการตอบคำถาม และมักจะมาเป็นคำถามแรกในการสอบสัมภาษณ์ด้วย โดยที่นักเรียนที่เข้าสอบสัมภาษณ์ส่วนใหญ่มักจะบอกแค่ ชื่อ-นามสกุล โรงเรียนเท่านั้นแล้วก็จบการแนะนำตัว ซึ่งการตอบแบบนี้ก็มักจะถูกกรรมการตอบกลับมาว่า แค่นี้หรอ? ดังนั้นเราควรจะตอบมากกว่านั้น โดยน้องอาจจะบอกถึงสิ่งที่ชอบเกี่ยวกับคณะหรือสาขานั้นสอดแทรกลงไปด้วยก็ได้ครับ

เคยทำกิจกรรมบ้างหรือไม่ เป็นอย่างไรบ้าง

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่อาจจะเจอในห้องสอบสัมภาษณ์ เพื่อให้น้องๆ แสดงความโดดเด่น ถ้าน้องๆ ไม่ใช่คนที่ทำกิจกรรมเยอะ ควรจะต้องเตรียมตัวสำหรับคำถามนี้ อาจจะใช้คำว่าเคยเข้าร่วมกิจกรรมอะไรมาบ้าง เพื่อตอบคำถามนี้

ทำไมถึงเลือกเรียนคณะนี้

คำถามนี้เจอแน่นอนครับ ไม่ว่าจะเข้าสอบที่ไหนก็ตาม ทุกๆ อันดับที่น้องเลือกมีเหตุผลแต่ต้องเตรียมคำตอบให้กระชับและน่าสนใจ เช่น ถ้าเลือกครุศาสตร์ อย่าตอบแค่ว่าอยากเป็นครู ควรอธิบายคำตอบด้วย เช่น คิดว่าเรื่องการศึกษาเป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเยาวชนและประเทศ เป็นต้น

ทำไมถึงเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้

เป็นคำถามตรวจสอบทัศนะคติของน้องที่มีต่อสถาบัน ดังนั้น ตอบให้แสดงถึงความภาคภูมิใจและแสดงถึงความสำคัญของสถาบันยิ่งดีครับ

เกรดแค่นี้ จะเรียนไหวเหรอ

กรรมการที่กดดันเก่งๆ มักจะมีคำถามนี้โผล่มากดดันเสมอ บางคนอาจจะถูกกรรมการกดดันหนักจนร้องไห้ก็มี แต่ขอให้ใจเย็นๆ ถ้าหากเจอกรรมการแนวโหด กดดันเก่ง ให้พยายามทำตัวให้นิ่งๆ ไว้ ให้ตอบว่า คิดว่าทำได้ ถ้าได้รับโอกาสเข้าไปเรียนครับ

มีอะไรจะถามหรือเปล่า

อาจจะแสดงความสนใจเพิ่มเติม เช่น คณะนี้มีเรียนเป็นภาษาอังกฤษเยอะหรือเปล่า มีคำแนะนำสำหรับการเรียนในรายวิชาไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า ฯลฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า น้องต้องการเรียนคณะนี้จริงๆ

     และนี่ก็เป็นประสบการณ์ที่อาจารย์เคยผ่านมาในฐานะของอาจารย์ กรรมการผู้คัดเลือกนักศึกษาผ่านการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยครับ ยินดีนำมาเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามขอให้น้องๆ นักเรียน โชคดี ผ่านสอบสัมภาษณ์ ติดในคณะที่อยากเรียน เพื่อเป็นทรัพย์กรณ์ ทุนมนุษย์ของประเทศต่อไป 

อ.ดร. นิรุทธ์(อ.พี่จง) พรมบุตร (Ph.d.Management)
อาจารย์ประจำ, ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
กรรมการสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตผู้ช่วยคณบดี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.ฝ่ายวิจัยและระบบสนับสนุน, งานกายภาพและอาคารสถานที่
วศ.บ.ไฟฟ้า(เกียรตินิยม อันดับ 1) วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล
วศ.ม.ไฟฟ้าสื่อสาร วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Ph.d. Management IAME.
ผู้เขียนบทความรับเชิญ ddproperty, TMB, ประชาชาติธุรกิจ,Marketting Oops และอื่นๆ


Tags : เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don't

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view