http://niruth.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

ประวัติและผลงาน

 ติดต่อเรา

สื่อและการเผยแพร่

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

7 เคล็ดลับ "เรียนอย่างไรให้จบตามหลักสูตร 4ปี (แถมพ่วงดีกรีเกียรตนิยม)"

ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : การชาร์จโทรศัท์ทิ้งไว้ทั้งวัน ควรทำหรือไม่ โทรผ่านไลน์ อันตรายจริงป่ะ ห้ามเอามือถือเปียกแช่ข้าวสาร

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลื่นอินเทอร์เน็ต Wi-Fi คลื่นมือถือ เป็นตัวเร่งโลกร้อน จริงหรือ?:คลื่นวิทยุ-คลื่นมือถือ รบกวนสมองได้จริงหรือ? พิสูจน์คลิปทำที่ชาร์จมือถือแบบไร้สายจริงหรือ? กระป๋องน้ำอัดลมเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ได้จริงหรือ? สัญญาณ Wi-Fi อันตรายจริงหรือ?

วิศวกรรมศาสตร์

ข่าวสารและกิจกรรม

Physics

การบริหารจัดการ

อิสรภาพทางการเงิน(Financial Freedom)

หัวข้อวิจัยสนใจ(Interested Topic Research)และโครงการ

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ06/06/2011
อัพเดท07/02/2024
ผู้เข้าชม76,134
เปิดเพจ118,200

สินค้า

iGetWeb.com
AdsOne.com

คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

รายละเอียดของรายวิชา 

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา                          มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา                   ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

 

                                                        หมวดที่ ๑  ข้อมูลทั่วไป 

๑.     รหัสและชื่อรายวิชา                    วศฟฟ ๒๐๑ คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

                                                        EGEE 201 Electrical Engineering Mathematics

๒.  จำนวนหน่วยกิต                            ๓(๓-๐-๖)  หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) 

๓.    หลักสูตรและประเภทของรายวิชา 

                   วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร  เป็นรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะบังคับ  

๔.    อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

        ๔.๑     อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

                                นิรุทธ์ พรมบุตร

                                สถานที่ติดต่อ  : ห้อง ๕๐๗ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

                                โทร.๐๒ ๘๘๙๒๒๒๕ ต่อ ๖๕๐๑-๒ e-mail: egnpb@mahidol.ac.th

                                facebook: www.facebook.com/niruth.p

        ๔.๒    อาจารย์ผู้สอน

                                นิรุทธ์ พรมบุตร

                                สถานที่ติดต่อ  : ห้อง ๕๐๗ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

                                โทร.๐๒ ๘๘๙๒๒๒๕ ต่อ ๖๕๐๑-๒ e-mail: egnpb@mahidol.ac.th

                                        facebook: www.facebook.com/niruth.p

๕.    ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน 

                ภาคการศึกษาที่ ๒ ชั้นปีที่ ๒

๖.     รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)    วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม 

๗.  รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites)  ไม่มี 

๘.    สถานที่เรียน   

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๙.    วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด    ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ 


 

หมวดที่ ๒  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ 

 

๑.     จุดมุ่งหมายของรายวิชา   

                รายวิชานี้มีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

(นำเสนอโดยเทียบเคียงกับผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และสัญลักษณ์ที่ใช้มีความหมายดังนี้

  • · รับผิดชอบหลัก       o  รับผิดชอบรอง)

 

                ด้านที่ ๑ : คุณธรรมจริยธรรม  

 

(๑)

เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม

เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต

  • ·

(๒)

มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ

ขององค์กรและสังคม

  • o

(๓)

มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง

ตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพใน

คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

  • o

(๔)

สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร

สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

(๕)

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ

 

                ด้านที่ ๒ : ความรู้

  • ·

(๑)

มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน

และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และ

การสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

  • ·

(๒)

มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหา

ของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม

  • o

(๓)

สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • o

(๔)

สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือ

ที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  • ·

(๕)

สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้

 

                ด้านที่ ๓ : ทักษะทางปัญญา

 

(๑)

มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี

  • ·

(๒)

สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ

  • ·

(๓)

สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูล

ประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • o

(๔)

มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการ

พัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์

  • o

(๕)

สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

                ด้านที่ ๔ : ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

  • o

(๑)

สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ

ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อ

สังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม

  • o

(๒)

สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและ

ส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความ

ช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ

  • o

(๓)

สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับ

ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

  • ·

(๔)

รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล

และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ

 

(๕)

มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำ งาน และการรักษา

สภาพแวดล้อมต่อสังคม

 

                ด้านที่ ๕ : ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

(๑)

มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี

  • ·

(๒)

มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์

ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์

  • o

(๓)

สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและ

มีประสิทธิภาพ

  • o

(๔)

มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้

สัญลักษณ์

  • o

(๕)

สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขา

วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้

๒.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา  

                เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เรื่องการโครงข่ายสื่อสารและสายส่งตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 


 

หมวดที่ ๓  ลักษณะและการดำเนินการ 

 

๑.    คำอธิบายรายวิชา  

      การวิเคราะห์ฟูเรียร์ อนุกรมฟูเรียร์ และฟูเรียร์อินทริกรัล การแปลงฟูเรียร์ สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย สมการลาปลาสในระบบพิกัดทรงกระบอกและทรงกลม จำนวนเชิงซ้อน ฟังก์ชันวิเคราะห์เชิงซ้อน สมการโคชี-รีมันท์ การส่งคงรูป อินทริกรัลเชิงซ้อน อนุกรมโลรองต์ การอินทริเกรตโดยวิธีค่าเรซิดิว การประยุกต์ใช้ทางด้านวิศวกรรม การประมาณค่าในช่วงสไปล์น การใช้วิธีเชิงเลขเพื่อหาคำตอบของสมการอนุพันธ์อันดับที่ 1 การใช้วิธีเชิงเลขสำหรับระบบสมการเชิงอนุพันธ์ และสมการเชิงอนุพันธ์อันดับสูง การใช้วิธีเชิงตัวเลขสำหรับสมการอนุพันธ์ย่อย

       Fourier analysis, Fourier series and integrals, Fourier transform, Partial differential equations, Laplace equations   in cylindrical and spherical coordinates, Complex number, Complex analytic functions, Cauchy-Riemann equations, Conformal mapping, Complex integral, Laurent series, Integration by the method of residues, Engineering application, Interpolation, Splines, Numerical method for first-order differential equations, Numerical method for systems and higher order differential equations, Numerical method for partial differential equations.

                                 

๒.           จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา 

 

 

บรรยาย 

 

สอนเสริม 

การฝึกปฏิบัติ/งาน 

ภาคสนาม/การฝึกงาน 

(นำเสนอผลงานของกิจกรรมสังเคราะห์ความรู้) 

 

การศึกษาด้วยตนเอง 

๔๕ ชั่วโมง

(๓ ชั่วโมง / สัปดาห์) 

ไม่มี

ไม่มี

๙๐ ชั่วโมง

(๖ ชั่วโมง / สัปดาห์)

 

๓.    จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล 

        ๓.๑ อาจารย์ประจํารายวิชา ประกาศเวลาให้คําปรึกษาผ่านสื่อสารสนเทศ

        ๓.๒ อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)

        ๓.๓ นักศึกษาจองวันเวลาล่วงหน้าแล้วมาพบตามเวลา


 

หมวดที่ ๔  แผนการสอนและการประเมินผล 

๑. แผนการสอน                   

สัปดาห์ที่

หัวข้อ

จำนวนชั่วโมง 

กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้ 

อาจารย์ผู้สอน 

บรรยาย

 

ปฏิบัติ 

ศึกษาด้วย 

ตนเอง 

บทนำคณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

การวิเคราะห์ฟูเรียร์

บรรยาย 

นิรุทธ์ พรมบุตร

การแปลงฟูเรียร์

บรรยาย 

นิรุทธ์ พรมบุตร

การประยุกต์ใช้ฟูเรียร์ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า 

บรรยายและสอบย่อย 

นิรุทธ์ พรมบุตร

จำนวนเชิงซ้อน

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

ฟังก์ชันวิเคราะห์เชิงซ้อน

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

การอินทริเกรตจำนวนเชิงซ้อน

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

สอบกลางภาค

 

นิรุทธ์ พรมบุตร

อนุกรมโลรองต์

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๐

การอินทริเกรตโดยวิธีค่าเรซิดิว

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๑

การประมาณค่าในช่วงสไปล์น

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๒

การใช้วิธีเชิงเลขเพื่อหาคำตอบของสมการอนุพันธ์อันดับที่ 1

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๓

การใช้วิธีเชิงเลขสำหรับระบบสมการเชิงอนุพันธ์ และสมการเชิงอนุพันธ์อันดับสูง

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๔

การใช้วิธีเชิงตัวเลขสำหรับสมการอนุพันธ์ย่อย

บรรยาย

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๕

การประยุกต์ใช้ทางด้านวิศวกรรม

บรรยายและอภิปรายกลุ่ม

นิรุทธ์ พรมบุตร

๑๖

สอบปลายภาค

(Final Examination)                             

 

 

 

 

 

 

รวมจำนวนชั่วโมง 

ตลอดภาคการศึกษา

๔๕

๙๐

 

               

 

๒.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้ 

(นำมาจาก 

หมวดที่ ๔)

กิจกรรม / วิธีการประเมินผลนักศึกษา  

(นำมาจากวิธีการประเมินของรายวิชานี้)

สัปดาห์ที่ประเมิน

สัดส่วน

ของการประเมินผล

๑(๒)

ประเมินจากการเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน

๑ - ๑๖

๑(๒)

ประเมินจากการส่งงานตามเวลาที่กำหนด

๒ - ๑๖

๑(๒)-๑(๓), ๒(๑)-๒(๕), ๓(๒)-๓(๕), ๔(๒)-๔(๔), ๕(๒)-๕(๕)

ประเมินจากผลงานรายบุคคลหรือรายกลุ่ม (เอกสาร/ รายงาน)

๘, ๑๓

๑๐

๑(๒), ๑(๔), ๒(๑)-๒(๕), ๓(๓)-๓(๔), ๔(๑), ๕(๔)

ประเมินจากการนำเสนอ (ด้วยวาจาและสื่อ)

๑๖

-

๒(๑)-๒(๓), ๓(๒)-๓(๔), ๕(๒)

ประเมินจากการสอบข้อเขียน

๙, ๑๗

๘๐

 

หมวดที่ ๕  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

๑. ตำราและเอกสารหลัก

(๑) Erwin Kreyszig.,Advance Engineering Mathematics-9th ed., John Wiley&Sons, Inc 2006 (solution manuals) (intsructor manual) ,(ppt)

(๒) C.Ray Wylie.,Advance Engineering Mathematics 6th ed., , McGrae-Hill, 1995

 

 (๓) Steven C. Chapra, Numerical Methods for Engineerings., McGraw-Hill, 2012 (solution )

๒. เอกสารและข้อมูลสำคัญ

(๑) นิรุทธ์ พรมบุตร.,เอกสารประกอบการเรียนการสอน คณิตศาสตร์วิศวกรรม.,2007

     (บทที่8อนุกรมฟูเรียร์)(บทที่9การแปลงฟูเรียร์)(บทที่10การวิเคราะห์จำนวนเชิงซ้อน)

     (Introduction to Numerical Methods) (Interpolation) (ODE) (PDE)

๓.  เอกสารและข้อมูลแนะนำ


                                            หมวดที่ ๖ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

๑.     กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

        การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนําแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

        ๑.๑  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

        ๑.๒ การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน

        ๑.๓ แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

        ๑.๔ ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทําเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา

 

๒.  กลยุทธ์การประเมินการสอน

        ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

        ๒.๑ การสังเกตการณ์การสอนไขว้ (cross observation) ระหว่างผู้ร่วมทีมการสอน

        ๒.๒ ผลการสอบ

        ๒.๓ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

 

๓.    การปรับปรุงการสอน

        หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน จัดให้มีการสัมมนาการจัดการเรียนการสอนหรือทำวิจัยการจัดการเรียนการสอน

 

๔.    การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

        ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

        ๔.๑ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช้อาจารย์ประจําหลักสูตร

        ๔.๒ มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม

 

๕.    การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

         จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น คือปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์


Tags : คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมมหิดล

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view