http://niruth.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

ประวัติและผลงาน

 ติดต่อเรา

สื่อและการเผยแพร่

ใช้มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลางฝน เสี่ยงฟ้าผ่า? 6 สิ่งแนะนำข้อควรระวัง “ขณะฝนตกหนัก”

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย Do and Don

7 เคล็ดลับ "เรียนอย่างไรให้จบตามหลักสูตร 4ปี (แถมพ่วงดีกรีเกียรตนิยม)"

ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : การชาร์จโทรศัท์ทิ้งไว้ทั้งวัน ควรทำหรือไม่ โทรผ่านไลน์ อันตรายจริงป่ะ ห้ามเอามือถือเปียกแช่ข้าวสาร

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลื่นอินเทอร์เน็ต Wi-Fi คลื่นมือถือ เป็นตัวเร่งโลกร้อน จริงหรือ?:คลื่นวิทยุ-คลื่นมือถือ รบกวนสมองได้จริงหรือ? พิสูจน์คลิปทำที่ชาร์จมือถือแบบไร้สายจริงหรือ? กระป๋องน้ำอัดลมเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ได้จริงหรือ? สัญญาณ Wi-Fi อันตรายจริงหรือ?

วิศวกรรมศาสตร์

ข่าวสารและกิจกรรม

Physics

การบริหารจัดการ

อิสรภาพทางการเงิน(Financial Freedom)

หัวข้อวิจัยสนใจ(Interested Topic Research)และโครงการ

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ06/06/2011
อัพเดท07/02/2024
ผู้เข้าชม76,123
เปิดเพจ118,189

สินค้า

iGetWeb.com
AdsOne.com

กระแสชินเดีย/9 กระแสหลักของไทยกับภูมิภาคเอเชียในทศวรรษนี้

กระแสชินเดีย/9  กระแสหลักของไทยกับภูมิภาคเอเชียในทศวรรษนี้

ตื่นเถิด…..SME ไทย

 ฮือฮากระแสชินเดีย

                                                                                                                                        จาก ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2554

                                                                                                                                                                      โดย TMB  SME

 

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอิทธิพลจากตลาดโลก ปั่นป่วนเศรษฐกิจบ้านเรากันถ้วนหน้าครับ แต่แม้ว่าชาติยักษ์ใหญ่จะพาเศรษฐกิจโลกผันผวนอย่างไร ถ้าเรารู้ทันกระแส โอกาสใหม่ ๆ มันเกิดขึ้นเสมอแหละครับ ดร.นิรุทธ์  พรมบุตร        

ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ธุรกิจข้ามชาติกระซิบข้างหูผมว่า …….

ในเมื่อพายุของตลาดอเมริกาและยุโรปกำลังอ่อนกำลังลงอย่างน่าใจหาย นักพยากรณ์ตลาดต่างคาดการณ์   กันว่า จีน และ อินเดีย จะมาเป็นขั้วมหาอำนาจใหม่ที่น่าจับตา เกิดเป็น กระแสชินเดีย(Chindia  Trend) ตลาดนี้กำลังจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เบนเข็มมาซื้อขายในจีนและอินเดียมากขึ้นนะครับ  เอสเอ็มอีไทยผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลจะพลาดโอกาสนี้ได้อย่างไร

ถ้าใครสนใจ “ จีน” ผมแนะนำว่า ตลาดสินค้าที่จับกลุ่มผู้ซื้อระดับบนกำลังมา ถ้าได้ส่งอาหารกระป๋องคุณภาพเยี่ยม เช่น ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง หรือ ข้าวโพดหวานกระป๋อง หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์      จากทะเลประเภทแช่แข็งที่คัดสรรมาอย่างดี เช่น หอยนางรม หรือปู และผลไม้ไทยเลื่องชื่อ เช่น เงาะ     มะขาม   ส้มโอ ทุเรียน ไปเจาะตลาดก็ดี เพราะตอนนี้อาตี๋ อาหมวย มีความเป็นอยู่ดีขึ้นและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของคนชนชั้นกลางที่นั่นกำลังมองหาสินค้าคุณภาพดี ๆ จากทั่วโลกมาสนองความต้องการของพวกเขาอยู่

สำหรับ “ อินเดีย” ผมแนะนำให้ตีให้ถูกจุดเพราะถ้าได้เจาะ ตลาดสินค้าเครื่องใช้เครื่องประดับอัญมณี หรือกลุ่มน้ำหอม น้ำปรุง แล้วเอสเอ็มอีไทยมีโอกาสเติบโตครับ เพราะสินค้าไทยมีจุดขายขึ้นชื่อเรื่องดีไซน์ และความประณีตอยู่แล้วแถมได้ยินข่าวดีว่าเอสเอ็มอีรายหนึ่ง รู้ซึ้งรสนิยมชื่นชอบกลิ่นหอมเย็นของ ไม้กฤษณา และพฤกษานานาพันธุ์ จึงกลั่นเป็นน้ำมันส่งออกไปขายรายได้งามทีเดียว

ถ้าจับทางได้แล้ว ก่อนกระโจนลงไป ผมอยากให้รวบรวมข้อมูล พฤติกรรม วัฒนธรรมประเพณี และที่สำคัญ “ ความเชื่อ” ของแต่ละเชื้อชาติ เพื่อจะได้เสนอสนองได้อย่างถูกจุดถูกใจ “ คิดก่อน คิดต่าง” แล้วต้อง “ รอจังหวะ” ด้วย ก้าวแรกของธุรกิจต้องก้าวให้ถูกนะครับ และธุรกิจของคุณก็จะเติบโตแบบไม่สะดุด ผมเชื่อครับว่าคุณสามารถ Make THE Difference ในทุกก้าวธุรกิจของคุณได้ อย่างที่ทีเอ็มบีเชื่อครับว่าพลังในตัวคุณสามารถเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้ เพราะทุกคนมีพลังที่จะสร้างความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่าให้แก่ตัวเองและสังคมเสมอ พบกันครั้งหน้า วันจันทร์ที่ 19 กันยา ยังมีเรื่อง SME ที่น่าสนใจไม่แพ้กันครับ    

tmbsme@tmbbank.com


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

9  กระแสหลักของไทยกับภูมิภาคเอเชียในทศวรรษนี้ 

นิรุทธ์ พรมบุตร,Ph.D.(Management) 

CEO, Athomegroup co., Ltd.

ชฎาพร นาวัลย์

THE NATION

สำหรับผู้ประกอบการไทยทั้งบริษัทระดับชาติ บริษัทข้ามชาติ SME ในทศวรรษนี้ สิ่งที่จะได้เห็นและกำลังจะเกิดขึ้นในการจัดการธุรกิจจะมี 9 กระแสหลักที่จะต้องจับตาดู

1)  การเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure Connection ) ในภูมิภาคนี้จะเริ่มมีการเชื่อมต่อกันในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคขนส่ง (Logistic) อย่างเช่น ประเทศจีนกำลังสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ทั้งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียดนาม ไทย (ถ้าสามารถอนุมัติได้ทัน ไม่ตกรถไฟไปกับประเทศเพื่อนบ้าน) โดยใช้เมืองซีอานเป็นโครงสร้างการจัดตั้งท่าสินค้านานาชาติ (Xian International Trade & Logistic Park)

2)  ธุรกิจบริการ (Service Business) ต้องยอมรับว่าโดยพื้นฐานประเทศไทยและคนไทยนั้น มีจิตใจบริการ (service mind) ที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ จึงสามารถประกอบธุรกิจประเภทธุรกิจบริการได้ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ดูได้จากธุรกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่ จัดเป็นธุรกิจบริการกว่า 44% ในประเทศพัฒนาและสัดส่วนจะอยู่ที่ 70% ในการทำธุรกิจบริการนั้นสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะธุรกิจบริการกับชาวต่าง ชาติ ซึ่งเป็นโครงสร้างธุรกิจ (Business Model) ที่คนไทยถนัด ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการไทยจะใช้จุดแข็งนี้ในการแข่งขัน ถือว่าเป็นจุดแข็งที่ดี เพราะโดยพื้นฐานเรายังสามารถเพิ่มสัดส่วนธุรกิจบริการนี้ได้อีกมาก

3)  การควบรวมกิจการ (Merge) ในช่วงล่าสุดปลายปีที่ผ่านมา กระแสการควบรวมกิจการและเข้า ซื้อกิจการ (Merger And Acquisition) รวมถึงการสร้างพันธมิตรหลายรูปแบบ เกิดขึ้นกับธุรกิจหลากหลายประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโทรคมนาคม ( บ.ทรูเข้าร่วมกับบ.ฮัทซ์ เพื่อผลประโยชน์ด้านสัมปทาน ) ธนาคาร (ธ.ธนชาติ เข้าซื้อกิจการธ.นครหลวงไทย โดยได้ผลประโยชน์ด้านสินทรัพย์ที่โตอย่างมาก, ธ.เมย์ แบงค์ ธนาคารเบอร์หนึ่งจากมาเลเซียเข้าฮุบกิจการนายหน้าค้าหลักทรัพย์ของกิมเอ็ง โอลดิ้งที่สิงคโปร์ โดยได้บริษัทลูก     กิมเอ็งที่เมืองไทยที่เป็นบริษัทตัวแทนนายหน้าค้าหลักทรัพย์อันดับ 1 ในตลาดหลักทรัพย์            แห่งประเทศไทยไปด้วย ) และอีกหลายธุรกิจที่สามารถสร้างผลประโยชน์รวมกัน จากการรวมกิจการซึ่งเป็นเรื่องปกติในโลกทุนนิยม ซึ่งสำหรับวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทข้ามชาติหลายบริษัท โดยเฉพาะในฝั่งตะวันตกถือว่าการเข้าควบรวมกิจการนั้น เป็นเรื่องที่สร้างผลตอบแทนให้บริษัทได้ง่ายและไวกว่าการที่จะมาเริ่มสร้างธุรกิจจากเริ่มต้น ซึ่งผู้ประกอบการที่ดีควรจะดูว่าแนวโน้ม      การควบรวมกิจการจะมีผลต่อตลาดธุรกิจเช่นไร จะได้เตรียมแผนรับมือได้อย่างเหมาะสม

4)  การเพิ่มขึ้นของคนชนชั้นกลาง    สถาบันและองค์กรวิจัยระหว่างประเทศหลายแห่งออกมาวิเคราะห์ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เมื่อมีการบริโภค การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้จำนวนประชากร  ซึ่งมีฐานะยากจนจะมีสัดส่วนลดลงเรื่อย ๆ พร้อม ๆ ผู้ซึ่งมีฐานะในระดับที่เรียก ๆ กันว่า                 “ ชนชั้นกลาง” (Moderate People)  ทั้งหลายกลับขยายตัวเพิ่มมากขึ้นแบบพรวด ๆ ซึ่งในประเทศไทย ไทยแลนด์แดนสยามในช่วงหลัง ๆ ที่ทุนนิยมเข้ามามีบทบาทมากในช่วง 7-8 ปีนี้ ทำให้เกิดชนชั้นกลางแบบใหม่ ๆ มีสัดส่วนมากกว่า 30 % ของพลเมืองที่มาพร้อมกับความสามารถในการบริโภค กิน เที่ยว ประชานิยมอีกที่หลายพรรคการเมืองประเคนแทบจะทะลักมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการควรขยับมาจับตลาดผู้บริโภคชั้นกลางนี้ ที่มีลักษณะยินดีจ่ายสินค้าฟุ่มเฟือย           โดยเน้นที่การตอบสนองทางด้านอารมณ์ความต้องการก่อน

5)  ธุรกิจส่งออก   แนวโน้มธุรกิจการส่งออกในภูมิภาคเอเชียโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งการเติบโต     ของธุรกิจในจีน, อินเดีย ทั้งยังการเติบโตของแนวโน้มสายการบินที่โต ทำให้หนุนอุตสาหกรรม  การท่องเที่ยวนั้น ธุรกิจการส่งออกจึงเติบโตด้วย โดยเฉพาะผลของการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area: AFTA) ที่ทำให้อัตราภาษีต่ำและปราศจากข้อจำกัดทางการค้า ทั้งยังทำให้ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มาสนใจซื้อ-ขาย ในอาเซียนด้วย ซึ่งยังทำให้ธุรกิจการส่งออกโต     ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดี ควรมองหาโอกาสและลู่ทางที่เราจะได้ประโยชน์จากการค้าเสรี

6)  กระแสชินเดีย (Chindia Trend)   ในปีหลัง ๆ ที่ภูมิภาคเอเชียมีการเติบโตอย่างดี จะเริ่มคุ้นเคย       กับคำว่า “ไชนา ” (China) หรือจีน เข้ากับ “ อินเดีย ”( India) ซึ่งเป็นสองขั้วอำนาจใหญ่ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ที่มีประชากรใหญ่เป็น 2 อันดับแรกในภูมิภาคเอเชียนี้ และมีอัตราแนวโน้มการขยายตัวสูงมากเฉลี่ยในจีนปีละ 8-10 % อินเดีย 8% ซึ่งสามารถทำให้ผู้บริโภคในจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้มีอำนาจในการบริโภคสูงด้วย ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย

7)  เงินตราในภูมิภาค    จากการที่สภาพเศรษฐกิจในอเมริกา ยุโรปบางส่วนตกต่ำ แต่ในขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียนี้โต ทำให้บางครั้งประเทศคู่ค้าซึ่งกันและกันก็สามารถตกลงซื้อขายกันเองด้วยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างคู่ค้าได้ โดยสถานการณ์ล่าสุด สกุลเงินในภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งขึ้น เป็นผลมาจากมาตรการการคุมเงินเฟ้อ-แทรกแซงตลาด ทำให้ความผันผวนลดลง     ในภูมิภาคเอเชีย กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ของโลกพุ่งเข้ามาลงทุนในค่าเงินเอเชีย หลังจากธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ขยับขึ้นดอกเบี้ยและเข้าแทรกแซงตลาด เพื่อจำกัดการแกว่งตัวของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้ประกอบการที่ดีควรหาทางป้องกันความเสี่ยงนี้ด้วย

8)  การทำธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย      เมื่อมีการค้าขายระหว่างประเทศกันในภูมิภาคเอเชีย ก็ทำให้          มีการทำธุรกรรมกันในภูมิภาคนี้อย่างกว้างขวาง ทั้งในรูปแบบปกติและรูปแบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน โดยเชื่อมกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น Online Banking, Online Stock Trading, E-Government, สินเชื่อลูกหนี้ระหว่างประเทศ (International Factoring)     ก็จะเริ่มได้ยินและมีการให้บริการกันมากขึ้น  ผู้ประกอบการที่ดีก็ควรศึกษา ทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในเรื่อง ดังกล่าวด้วย

9)  การปรับปรุงโครงสร้างภาษี  

ในแต่ละประเทศมีอัตราโครงสร้างภาษีที่แตกต่างกัน

ประเทศ

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม%

อัตราภาษีสูงสุดของรายได้นิติบุคล%

จีน

6

25

อินเดีย

4

30

ญี่ปุ่น

5

35

มาเลเชีย

5

25

ฟิลิปปินส์

10

25

สิงคโปร์

5

17

ไทย

7

30

 

ในประเทศต่าง ๆที่รัฐบาลสนับสนุนทางด้านการค้า การขาย อย่างเต็มที่อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศนั้น ๆ จะไม่สูงมาก เช่น ในสิงคโปร์ ญี่ปุ่น

            จะเห็นว่าจากข้อมูลในตารางประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสูงมาก     รองจากแค่ฟิลิปปินส์ ซึ่งอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงมาก ก็เป็นกำแพงกั้นไม่ให้การบริโภคของประชาชนสูงเฟ้อเกินไป แต่รายได้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยนั้นก็เป็นรายได้หลักของรัฐบาลไทย ดังนั้นถ้ารัฐบาลที่บริหารได้ดีต้องสามารถบริหารหรือลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม             ให้พอเหมาะที่ทำให้เกิดการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน และทำให้รายได้ภาครัฐดีและมั่นคงไปด้วย ซึ่งจะเห็นอย่างในมาตรการการหาเสียงของบางพรรคการเมืองก็ขายฝันไว้ว่า จะลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยให้อยู่ที่ร้อยละ 5% แต่ก็ต้องรักษารายได้ของภาครัฐด้วยนะครับ ไม่ใช่ขายฝันอย่างเดียว ส่วนในด้านของอัตราภาษีของนิติบุคคลที่สูงที่สุดของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียเป็นดังนี้

            การเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราสูงมากเกินไป ทำให้เหมือนว่าแต่ละบริษัท                 มีการหลบเลี่ยงภาษี เพื่อให้ฐานภาษีน้อยหรือบริษัทไม่พยายามทำให้รายได้เข้ามาในระบบ               เพราะจะต้องเสียภาษีสูงขึ้น แต่ถ้าหากว่ารัฐบาลพยายามลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้                  ในอัตราต่ำลง พอเหมาะพอสมควร และเมื่อมีการเปิดการค้าเสรีก็ยิ่งจะเป็นแรงกดดันให้มีอัตราภาษีของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะของประเทศไทยที่จะต้องไม่ต่างจากประเทศอื่น ๆ มากนัก         ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดีควรจะเตรียมวางแผนภาษีไว้ล่วงหน้าจะเป็นการดี เมื่อมีการเปิดเขตการค้า       หรือตามกระแสหลักของภูมิภาคเอเชียนี้


Tags : ตื่นเถิด…..SME ไทย ฮือฮากระแสชินเดีย tmb sme

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view